Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประทุม แป้นสุวรรณ-
dc.contributor.authorอรชา เขียวมณี-
dc.date.accessioned2023-06-08T02:26:23Z-
dc.date.available2023-06-08T02:26:23Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1679-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เพื่อเปรียบเทียบระดับการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขั้นตอนของวงจรคุณภาพ เพื่อเปรียบเทียบการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย ครูวิชาการสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 773 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบคาถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ในการทดสอบ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ที่ระดับความมีนัยสาคัญที่ .05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 มีการใช้อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากค่ามากไปหาน้อย คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนดำเนินตามแผน ขั้นตอนการตรวจสอบ และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข ตามลำดับ ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากค่ามากไปหาน้อย คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนดำเนินตามแผน ขั้นตอนการตรวจสอบ และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข ตามลำดับ 2) การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขั้นตอนของวงจรคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัญหาที่พบมากที่สุดและข้อเสนอแนะการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน แต่ละด้านมีดังนี้ 4.1) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พบว่า ปัญหาการนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตรยังไม่ทั่วถึงและต่อเนื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ร่วมกับคณะครูอย่างต่อเนื่อง 4.2) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ปัญหาขาดแคลนงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการวิจัยในชั้นเรียนให้เพียงพอ 4.3) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา พบว่า ปัญหาการสนับสนุนงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอ แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรสนับสนุนงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้เพียงพอและบริหารให้คุ้มค่าที่สุด 4.4) การนิเทศการศึกษา พบว่า ปัญหาการนิเทศ แนะนำ กำกับ ติดตามการนิเทศภายในไม่เป็นไปตามแผน แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรดาเนินการนิเทศ กากับ ติดตาม ตามแผนที่กาหนดอย่างต่อเนื่อง 4.5) การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ปัญหางบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ในการวัดผลและประเมินผลไม่เพียงพอ แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ในการวัดผลและประเมินผลให้เพียงพอ 4.6) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนที่กำหนด แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรดาเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่องen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการบริหารงานวิชาการ -- วิจัยen_US
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษา -- วิจัยen_US
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษา -- วิจัย -- ไทย -- เพชรบูรณ์en_US
dc.titleการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3en_US
dc.title.alternativeThe use of quality control circle in academic administration of school administrators as perceived by teachers basic educational schools under Phetchabun primary educational service area office 3en_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purposes of this research were to study the level of the use of quality control circle in academic administration of school administrators as perceived by teachers basic educational schools under Phetchabun primary educational service area office 3, to compare the use of quality control circle step by step, to compare the use of quality control in school with different sizes, and to study problems and suggest solutions to the problems in the use of quality control circle in academic administration by school administrators as perceived by teachers in basic education schools. The sample group in this study consisted of 773 academic teachers in basic education schools under Phetchabun primary educational service area office 3. A constructed five-level scale rating questionnaire with open-ended questions was used as a tool to collect data. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The F-test (one way analysis of variance) had a significant level at .05 and tested the difference in pair by Scheffe’s Method. The analysis was done through SPSS for Windows. Research findings were as follows: 1) The use of quality control circle in academic administration by school administrators as perceived by academic teachers was at a high level, ranking in the order of mean from high to low as plan, doing, checking and acting. 2) The use of quality control in academic administration by school administrators as perceived by academic teachers classified by using step by step of quality control circle was found to be different. The difference was statistically significant at the level of .05. 3) The use of quality control circle in schools with different sizes was not significantly different at the level of .05. 4) The most frequently found problems and suggestions for the solutions to those problems were as follows: 4.1) The administrators did not conduct internal academic supervision, control and follow up the use of curriculum thoroughly and connectedly. Both administrators and teachers should have a systematic assessment on these matters and did it connectedly. 4.2) There were not enough budget, personnel, and materials for classroom research. More budget, personnel, and materials should be allocated for research. 4.3) There were not enough budget, personnel, and materials for teaching/ earning. More budget should be provided and used effectively. 4.4) The academic supervision, advice, control, and follow up were not in accordance with the plan. These matters should be implemented connectedly according to the plan. 4.5) There were not enough budget, personnel, and materials for assessment and evaluation. Again, more budget, personnel, and materials should be provided. 4.6) The quality assurance did not correspond to the goal and set plan. It was suggested that the internal supervision, control and follow up should be conducted connectedlyen_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการบริหารการศึกษาen_US
Appears in Collections:EDU-EA-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ORACHA KIEWMANEE.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.