Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1687
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของนักศึกษาการบิน ในประเทศไทย
Other Titles: Factors affecting passing of aeromedical criteria of pilot students in Thailand
Authors: ชนนนาถ เทพลิบ, พล.อ.ท
Keywords: การบิน -- การศึกษาและการสอน;นักศึกษา -- การบิน;การฝึกบิน -- ผลไม่พึงประสงค์
Issue Date: 2564
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (Physical Health) ด้านจิตใจ (Mental Health) ด้านการจูงใจของครูการบิน (Instructor’s Motivation) และพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาการบินในประเทศไทย ที่มีผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของนักศึกษาการบินในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (Physical Health) ด้านจิตใจ (Mental Health) ด้านการจูงใจของครูการบิน (Instructor’s Motivation) และพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาการบินในประเทศไทย กับอาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของนักศึกษาการบินในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้แบบสอบถามนักศึกษาการบินที่เข้าเรียนตามหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี ปีการศึกษา 2564 ที่เคยมีอาการไม่พึงประสงค์ จำนวน 222 คน จากการใช้ตารางสาเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบกำหนดโควต้า และสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษาการบิน จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า พฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาการบิน (Students Pilot’s Adjustment) อยู่ในระดับมาก ( x̄= 3.94, S.D. = 0.703) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านร่างกายของนักศึกษาการบิน (Physical Health) ( x̄= 3.91, S.D. = 0.727) การจูงใจของครูการบิน (Instructor’s Motivation) ( x̄= 3.70, S.D. = 0.752) และปัจจัยด้านจิตใจของนักศึกษาการบิน (Mental Health) ( x̄= 3.56, S.D. = 0.764) ตามลำดับ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย 4 ด้าน กับอาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของนักศึกษาการบินในประเทศไทย พบว่า ความกดอากาศมีผลต่อการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ วิธีในการป้องกันคือ การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนขึ้นบินทุกครั้ง โดยการทำกิจกรรมเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย อีกทั้งแรงจูงใจของครูการบินยังช่วยให้นักศึกษาการบินปรับตัวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were 1) to study the four factors leading to unfavorable conditions of Thai pilot students during their flight training: physical health, mental health, flight teachers’ motivation (instructors’ motivation), and adaptive behavior, and 2) to study the relationship between the four factors and the unfavorable conditions. The data were collected through questionnaires. And the subjects were 222 pilot students in Commercial Pilot Undergraduate Program, who enrolled in the academic year 2021 and experienced unfavorable conditions. The sampling size was done by Taro Yamane's ready-made tables, and assigned through quota sampling method. The qualitative data were collected from an interview of 7 students. The results showed that in terms of the four factors, it was found that the students’ adaptive behavior was at a high level (x̄ = 3.94, SD = 0.703). Second, third, and fourth to that were the physical health (x̄ = 3.91, SD = 0.727), flight instructors’ motivation (x̄ = 3.70, S.D. = 0.752), and the students’ mental health (x̄ = 3.56, SD = 0.764) respectively. The results also showed that, regarding the relationship between the four factors and the unfavorable conditions, suppressing of the conditions was found. One way to prevent it is to prepare the body before every flight. Activities were needed to relax the body, and the instructor motivation also helped the pilot students to adjust to those unfavorable conditions.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1687
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:TAV-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHANONNAT THEPLIB.pdf50.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.