Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1708
Title: ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต
Other Titles: Intercultural communication competence and self-adaptation of Chinese students in Rangsit University
Authors: พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง
metadata.dc.contributor.advisor: ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ
Keywords: มหาวิทยาลัยรังสิต -- นักศึกษาจีน -- วิจัย;การสื่อสาร -- วิจัย;นักศึกษาจีน -- การปรับตัว -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ “ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของ นักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต” มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาถึงความสามารถทางการสื่อสาร ของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้วัฒนธรรมไทย 2) เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวของนักศึกษา จีน มหาวิทยาลัยรังสิต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการสื่อสารภายใต้ วัฒนธรรมไทยกับการปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงผสมผสานคือ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการเก็บข้อมูลจาก แหล่งข้อมูล 2 กลุ่มคือ กลุ่มนักศึกษาจีนที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตร Chinese Business School จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนักศึกษาและหลักสูตรจำนวน 5 คน และการวิจัยเชิง ปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักศึกษาจีนที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตร Chinese Business School ที่เป็นประชากรทั้งหมด 67 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานที่ 1-2 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี ttest และทดสอบสมมติฐานที่ 3 ใช้วิเคราะห์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แนวคิดพื้นฐานของผู้ให้ข้อมูลคือ หลีกเลี่ยงการแข่งขันทางการศึกษาที่มีสูง ภายในประเทศจีน เพิ่มโอกาสที่ดีในการทำงานในอนาคต ชื่นชอบผู้คนและวัฒนธรรมไทยเป็น พื้นฐานในการตัดสินใจเรียนในประเทศไทย 2) ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาจีน แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) มีความสามารถในการตีความหมายอยู่ในระดับสูง ที่ค่าเฉลี่ย 3.66 คือ สามารถตีความภาษาท่าทาง ของคนไทยได้ว่าต้องการจะสื่อสารอะไร เช่น พยักหน้า การพนมมือ การโบกมือ 2) มีความสามารถ ทางด้านทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน คือ ความสามาถทางทักษะการฟังของนักศึกษาจีน 3) การปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) การปรับตัว ด้านวัฒนธรรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ย 2.78 คือ นักศึกษาจีนสามารถเริ่มต้น สนทนากับคนแปลกหน้าที่เป็นคนไทยได้ รองลงมาคือภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน 2) การ ปรับตัวด้านการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ย 3.16 คือนักศึกษาจีนมีการวางแผน การศึกษา สามารถปรับตัวเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเช่น งานกีฬามหาวิทยาลัย กิจกรรม Freshy Day & Night 4) แรงจูงในและความคาดหวังของนักศึกษาจีนคือ การชื่นชอบ หลงใหลวัฒนธรรมไทย ต้องการได้รับประสบการณ์ใหม่ คาดหวังการหลีกเลี่ยงปัญหาว่างงานในอนาคต 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวคือ การเรียนรู้และยอมรับถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ไทยและจีน 6) ปัญหาและอุปสรรค คือ เรื่องภาษา นักศึกษาจีนยังขาดทักษะด้านการฟัง การพูด การ อ่าน การเขียนภาษาไทย 7) ความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมไทยไม่มีความสัมพันธ์กันกับการปรับตัว ของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.641 คือ นักศึกษาจีน สามารถปรับตัวในสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมใหม่ได้ ถึงแม้จะพบปัญหาอุสรรคเรื่องของภาษา
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this study were 1) to study the communication competence of Chinese students at Rangsit University 2) to study the self-adaptation of Chinese students at Rangsit University to Thai culture, and 3) to study the relationship between communication competence and self-adaptation of Chinese students at Rangsit University to Thai culture. This study employed both quantitative and qualitative research techniques. Quantitative data was collected by in-depth interview from 20 Chinese students who study at the Chinese Business School and five selected key informants. Qualitative data was collected by a questionnaire administered to 67 Chinese students who studied at the Chinese Business School. The collected data was analyzed using percentage, means, standard deviation, t-test and the Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that: 1) The respondents decided to study in Thailand because they wanted to avoid the highly competitive education environment in China, they needed more career opportunities and they liked Thais and Thai culture. 2) The Chinese students’ interpretation of their cultural competence showed: (1) they could understand body language used by Thais such as nodding, waiing (a slight bow, with the palms pressed together in a prayer-like fashion), and waving, at a “high” level, 3.66. (2) Their listening skills were at the “moderate” level, 3.24 while their speaking, reading and writing skills were at the “low” level, 2.46, 2.01 and 1.71 respectively. 3) The Chinese students’ interpretation of their adaptation to Thai culture showed: (1) they talked to Thai strangers and used Thai language in their everyday life at the “moderate” level, 2.78. (2) The Chinese students’ interpretation of their adaptation to Thai education showed: they made study plans and participated in activities organized by university including the University Games and Freshy Day & Night, at the “moderate” level, 3.16. 4) The Chinese students’ motivations and expectations were found to be related to a fondness of Thai culture, a desire for new experiences and not wanting to be unemployed. 5) A factor that affected the self-adaptation of Chinese students was learning to accept the differences between Thai and Chinese culture. 6) The Chinese students lacked Thai listening, speaking, reading and writing skills. 7) There was no relationship found between communication competence and the self-adaptation of Chinese students at Rangsit University to Thai culture, the significant difference found was 0.641. Therefore, it could be concluded that Chinese students could adapt themselves to Thai culture, environment and society, even though they experienced language problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1708
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PORNPHAYAO KONGMENG.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.