Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1712
Title: วิเคราะห์เปรียบเทียบการเดี่ยวกลองของสตีฟ แกตต์, วินนี่ โคลัวตา และเดฟ เวคล์ ในบทเพลงฮัมตี ของ ชิก คอเรีย
Other Titles: A comparative analysis of Steve Gadd's, Vinnie Colaiuta's and Dave Weckl's drums solos on Chick Cprea's humpty dumpty
Authors: องอาจ กวีเกียรติคุณ
metadata.dc.contributor.advisor: เด่น อยู่ประเสริฐ
Keywords: แกตต์, สตีฟ;โคลัวตา, วินนี่;เวคล์, เดฟ;โคเรีย, ชิค;กลอง;เครื่องดนตรี -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้เพื่อการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเดี่ยวกลองของสตีฟ แกดด์ วินนี โคลัวตา และเดฟ เวคล์ จากบทเพลง ฮัมตี ดัมตี ประพันธ์โดย ชิก คอเรีย มีการวิเคราห์เปรียบเทียบในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะหน่วยย่อยเอก การซ้ำ การพัฒนาหน่วยย่อย การเรียบเรียงเสียงกลองชุด การทำให้อัตราจังหวะผิดแปลกไปจากอัตราจังหวะเดิม และโครงสร้างของบทเพลงที่มีผลกระทบต่อการเดี่ยวกลอง งานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า การเดี่ยวกลองของผู้เล่นกลองทั้งสามท่าน มีการใช้แนวคิดต่าง ๆ โดยมีบางประเด็นที่เหมือนกัน และบางประเด็นที่ต่างกัน กล่าวคือ ผู้เล่นกลองทั้งสามท่านมีการสร้างลักษณะหน่วยย่อยเอกที่เข้าใจง่าย เพื่อสามารถนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ ทั้งสามผู้เล่นกลองมีการให้ความสำคัญกับแนวคิดการ้ำทั้งในเรื่องของการซ้ำแบบเปลี่ยนทำนองบางทำนอง การซ้ำแบบเปลี่ยนจังหวะบางจังหวะ การซ้ำแบบเปลี่ยนบางจังหวะและบางทำนองพร้อมกัน และการซ้ำแบบคงไว้ซึ่งรูปแบบเดิมทุกองค์ประกอบ มีการแบ่งประโยคตามโครงสร้างของบทเพลง การคิกที่มาจากทำนองหลักในการให้ผู้ฟัง และผู้ร่วมเล่น สามารถรับรู้ได้ว่าการเดี่ยวได้ดำเนินถึงช่วงใดในบทเพลง ความแตกต่างที่ได้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบทำให้ทราบว่าถึงแม้ทั้งสามผู้เล่นกลองจะมีการใช้แนวคิดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่ในเรื่องของลายละเอียดหรือวิธีการใช้ มีความแตกต่างกัน เช่น การเรียบเรียงเสียงกลองชุดที่สตีฟ แกดด์มักจะใช้การไล่เสียงสูงไปหาเสียงต่ำ วินนี โคลัวตามักจะมีเสียงที่หนาแน่น และเดฟ เวคล์มักจะมีการใช้เสียงที่บรรเลงพร้อมกันสองเสียง เป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this study is to analyse and compare the Drums Solos of Stave Gadd, Vinnie Colaiuta and Dave Weckl on Chick Korea’s Humpty Dumpty which the subjects of the analysis are motivic pattern, repetition, motivic development concepts, orchestrating phrases, irregular rhythmic pattern and form. The analysis result shows that Gadd, Colaiuta and Weckl have some common concept and technic of improvisation such as a motivic pattern, repetition, motivic development of hand and feet pattern, question and answer sentenses, fragmentation and extention, three beat phrases, odd grouping,orchestrating phrases but have the differences in details for example Gadd often use the ideas around the set, Colaiuta is likely to use enhance and Weck frequently use double stop
Description: วิทยานิพนธ์ (ดศ.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ดนตรี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1712
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ms-Music-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ONGART KAWEEKIATTICOON.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.