Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1735
Title: | บทประพันธ์เพลงอิมพัลส์ สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ |
Other Titles: | Impulse for Jazz Orchestra |
Authors: | กุลธีร์ บรรจุแก้ว |
metadata.dc.contributor.advisor: | เด่น อยู่ประเสริฐ, วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น |
Keywords: | การประพันธ์เพลง;วงดนตรีแจ๊ซซ์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบของการสร้างสรรค์ บทประพันธ์เพลงสำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่บทใหม่ โดยใช้วิธีการประพันธ์ภายใต้กรอบดนตรี แจ๊ส ที่ผนวกรวมเข้ากับสำเนียงดนตรีตะวันออก และนำเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ สอดแทรกเข้าไว้ในบทประพันธ์เพลง อีกทั้งเพื่อเผยแพร่บทประพันธ์เพลงออกสู่สาธารณะชน ทฤษฏีที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย การศึกษาดนตรีกระแสที่สาม ผลงานและแนวคิดของนักประพันธ์ เพลงทั้งดนตรีแจ๊ส และดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ โดยบทประพันธ์นี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ทั้งหมด 17 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มเครื่องเป่ าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่ าลมทองเหลือง และกลุ่มเครื่องจังหวะ บทประพันธ์เพลง อิมพัลส์สำหรับวงดนตรีแจ๊สขนาดใหญ่ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ ผู้วิจัยได้คาดการณ์ไว้ โดยมีลักษณะการเรียบเรียงดนตรีในแต่ละท่อนที่มีความแตกต่างกัน แต่ยังคง ความเป็นเอกภาพจากการนำรูปแบบระบบศูนย์กลางเสียงด้วยวิธีการแอสเซอชันมาใช้ ซึ่งถูกกำหนด ผ่านลักษณะโน้ตเพเดิลและออสตินาโต นอกจากนั้นบทประพันธ์นี้ได้รวมเอาเทคนิคดนตรีคลาสสิก ศตวรรษที่ยี่สิบเอาไว้ได้อย่างแยบยล พร้อมกับสอดแทรกกลิ่นอายทางดนตรีตะวันออก จากการ เลียนแบบลักษณะเสียงบทสวดของทำนองหลัก อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้สร้างพื้นที่สำหรับการบรรเลง คีตปฏิภาณบนพื้นฐานของบันไดเสียงแบบโมดไว้อีกด้วย บทประพันธ์นี้มีระยะเวลาการดำเนินไป ของดนตรีจากท่อนแรกจนถึงท่อนสุดท้ายความยาวประมาณกว่า 10 นาที นอกจากนั้นบทประพันธ์นี้ ถูกนำออกแสดงในงานเทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 5 (Thailand International Jazz Conference) ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนำออกแสดงในงานคอนเสิร์ตวง ดนตรีแจ๊สออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Jazz Orchestra Monday Night Live Part III) ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำในรายการดนตรี กวี ศิลป์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส |
metadata.dc.description.other-abstract: | The main objective of this thesis is a creative research in the form of music composition for a new chapter of jazz orchestra. The piece is a combination of jazz language, Non-Western atmosphere, and the use of technique of the 20th century classical music. Furthermore, the piece aims to be performed in public. The piece is based on the Third Stream and the 20th-century classical music. This composition is designed for the 17 jazz orchestral instruments--woodwind section, brass section, and rhythm section. Impulse for Jazz Orchestra is distinguished characteristics in each section. The whole composition, however, is based on tonality in the form of pitch centricity which mostly approaches by using pedal tone and ostinato. In addition, the 20th century classical music technique has been deliberately applied to this music composition together with its main theme of Non-Western atmosphere, imitating Islamic Chant. The composition, however, has also created enough space for instruments’ improvisation. The length of this piece is about 10 minutes. This work was performed at Thailand International Jazz Conference V, College of Music, Mahidol University. Moreover, it was also performed at Rangsit University Jazz Orchestra Monday Night Live Part III, Bangkok Thailand Cultural Center. The piece was broadcasted on the Dontri Kawee Silp TV Show, Thai PBS |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ดนตรี |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1735 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ms-Music-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KUNTHEE BANJUKEAW.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.