Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1740
Title: เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง : ศึกษากรณีประเทศไทย พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ.2554
Other Titles: Communication technology and change in political system : Thailand case study 1992-2012
Authors: นภาภรณ์ พิพัฒน์
metadata.dc.contributor.advisor: วิชัย ตันศิริ, กนกรัตน์ ยศไกร
Keywords: เทคโนโลยีการสื่อสาร -- การศึกษาและการสอน;เทคโนโลยีการสื่อสาร -- ไทย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง: กรณีศึกษาประเทศ ไทย พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2554 มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ กระบวนการสื่อส พลวัตของการใช้สื่อ และเทคโนโลยีการสื่อสารใน 3 ช่วงเวลาสําคัญ ได้แก่ ยุคพฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2534-2535) ยุคทักษิณ (พ.ศ. 2544-2549) และ หลังรัฐประหาร (พ.ศ. 2550-2554) 2) เพื่อศึกษากล ยุทธ์การสื่อสารของพันธมิตรประชาชนเป็ ประชาธิปไตย (พธม.) กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในช่วงรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลจากพรรคพลังประชาชน และ เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นป บการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วง รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผลการวิจัย พบว่า ประการแรก การใช้สื่อและการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สมัยใหม่ในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบทันทีทันใด แต่มี ผลอย่างมีนัยสําคัญต่อการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร การแพร่กระจายชุดความคิดอุดมการณ์ การระดม มวลชน และปลุกระดมทางคิดต่อผู้รับสาร โดยเฉพาะในกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ สําหรับเหตุการณ์ช่วงพฤษภา ทมิฬ 2535 ผลวิจัยสนับสนุนผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ระบุถึงบทบาทของเทคโนโลยีการสื่อการที่ ถูกนํามาใช้ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองในขณะนั้น โดยพบว่า โทรศัพท์เคลื่อ สอนทมบทบาท มากกว่าเครื่องชี้สถานะ “ชนชั้นกลาง” แต่ได้กลายเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างผู้ชุมนุมในพื้นที่กับ โลกภายนอก รวมทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารสําคัญที่สื่อมวลชนใช้ในการรายงานสดสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมทางการเมือง ประการถัดมา การเลือกใช้สื่อของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในลักษณะของการบูรณาการ สื่อ (Integrated media communication) ทั้งสื่อดั้งเดิม และสื่อใหม่ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ สื่อสาร และสร้างพลวัตการสื่อสารให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งขยายขอบเขตการสื่อสาร ทั้งท กายภาพ และในโลกออนไลน์ ครอบคลุมกลุ่มผู้รับสารได้โดยตรง อีกทั้งยังสร้างรูปแบบและ กระบวนการสื่อสารที่ผสมผสานไม่ตายตัว มีทั้งการสื่อสารทางเดียว (One way communications) และการสื่อสารสองทาง (Two ways communications) ขณะที่ผู้รับสารที่มีลักษณะของการเป็นผู้รับ สารเชิงรุก (Active seeker) มากกว่าเป็นผู้รับสารในลักษณะผู้ตาม (Passive audience) และในบาง กรณีก็เปลี่ยนสถานะเป็นผู้ส่งสาร (Sender) ไปพร้อมๆ กัน ประการสุดท้าย การศึกษาพบว่า “คน” ยังคงเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีบทบาทสูง ทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารกลุ่ม ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะในกรณีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this dissertation, were to study 1) forms, processes, and dynamic of mass communications via communication technologies during 1992-2011; Black May period (1991-1992), Thaksin Era' (2001-2006) and 'After coup d'etat period (2007-2011), 2) relationship between communication strategies of People's Alliance for Democracy (PAD) and political changes over the time and (3) relationship between communication strategies of the United Front for Democracy against Dictatorship (UDD) and political changes over the time. Findings: Firstly, the use of media and mass communication via modern communication technology in 3 periods of major political events didn't directly lead to political changes but they had impact on information communication, diffusion of their own political idcology, mass mobilization, political persuasion and participation especially in cases of PAD and UDD. For the case of Black May in 1992 some findings support earlier researches concerning the communication technology's roles in political mass protests. Mobile phones had not only been the indicator of protesters 'middle class' status but also been the important channels to communicate between protesters and outside world and as the tools for journalists to report real-time situations at the protesting place. Secondly the Integrated Media Communications (IMC) were the forms which both PAD and UDD applied to organize and manage their mass protests. These contributed to effective communications and created the dynamic of communications as well as expanded the scope of communications to cover all groups of audiences directly in physical places and online world. IMC techniques also helped PAD and UDD create mixed forms of communications both in one-way and two-ways communications. For the audiences, they were changed from the passive audiences to active seekers and sometimes many audiences had also been the active senders. Finally, this study found that 'people' were the important channels in the interpersonal and group communications processes, both formal and informal, especially in the case of the United Front for Democracy against Dictatorship.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1740
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NAPAPORN PIPAT.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.