Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1747
Title: | นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ศึกษาเชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ |
Other Titles: | Anti-corruption policies for local government in Thailand : The critical study of policy implementation |
Authors: | กานต์ ศรีวิภาสถิตย์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ปฐม มณีโรจน์, กัณฑ์ธิมา นิลทองคำ วรรณนภา วามานนท์ |
Keywords: | การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง -- ไทย -- วิจัย;องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ศึกษา เชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นไปปฏิบัติ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการ ป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อการ ป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การศึกษาภาคสนาม (field study) ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากงานเขียน บทความ ข้อมูล หรืองานวิจัยที่อาศัยการสืบสาวเรื่องราวจากเอกสารเพื่อนำไปสู่คำตอบตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริต ใน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ คือ (1) ปัจจัยทางด้านนโยบาย ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมายของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการที่มุ่งตรงไปยังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมี ความชัดเจน (2) ทรัพยากร ประกอบด้วย งบประมาณเพื่อการสนับสนุนนโยบาย ต้องเพียงพอ (3) ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ประกอบด้วย โครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมภายในขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งต้องมีความพร้อมและมีศักยภาพ ในการบริหาร (4) ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารสองทาง ระบบการ สื่อสารแบบเปิด การเชื่อมโยงอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการระหว่างการบริหารราชการ ส่วนกลาง กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (5) กลไกการควบคุมภายใน ประกอบด้วย การกำหนด กฎเกณฑ์ หรือแนวทางเพื่อการควบคุม หรือกำกับดูแลการบริหารงานภายในของผู้ปฏิบัติงานใน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่ง และ (6) ปัจจัยด้านนโยบายเพื่อการป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย การกำหนดให้มีการรายงานการตรวจสอบ การจัดตั้งองค์การเพื่อการตรวจสอบแบบ ครบวงจร การดึงภาคประชาชน และสื่อมวลชนเข้ามามีส่วนในการบริหารงานในองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมาธิบาล ประมวลจริยธรรม มาตรการบังคับ ทางกฎหมาย มาใช้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตใน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ คือ (1) ปัจจัยด้านผู้กำหนดนโยบาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร ขาดภาวะผู้นำ ขาดทักษะ ขาดความเข้าใจ และความตั้งใจจริงในการกำหนดนโยบายเพื่อการ ป้องกันการทุจริต (2) ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ และขาดความ ตั้งใจในการดำเนินภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย (3) ปัจจัยด้านประชาชนและสื่อมวลชน ประกอบด้วย ความพร้อม โอกาส และการประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและ สื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานภายในขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ปัจจัย ด้านองค์การเพื่อการตรวจสอบ ประกอบด้วย การขาดแคลนอัตรากำลังคน การขาดแคลนทรัพยากร และการบริหารงานที่ถูกการเมืองเข้าครอบงำ และ (5) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย การต่อต้านและการคัดค้านของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เงื่อนไขด้านเวลา สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สำหรับแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย คือ หน่วยงานภาครัฐบาลต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบาย ว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยการนำปัจจัยดังกล่าวมา บังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องให้ความสำคัญ ถึงปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลว ในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยการ ขจัดปัจจัยดังกล่าวให้หมดไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purposes of this study were: 1) to study the factors affecting the success of anti-corruption policy implementation in local government; 2) to study the factors affecting the failure of anti-corruption policy implementation in local government and to study guidelines for anti-corruption measures in local government. Qualitative research was employed. The data was gathered by in-depth interviews, field studies and documentary studies from articles and research papers. The study showed the following: The factors affecting the success of anti-corruption policy implementation in local government consisted of: 1) the policies which covered the objectives and goals of the policies the plans or projects directly designed for local governments should be clearly formulated; 2) the financial and other necessary resources for policy implementation are sufficient; 3) such organizational factors as structural or cultural matters are ready and positively contribute to effective management; 4) both formal and informal communication, covering open system communication an official and intergovernmental communication are two-way and convenient; 5) the internal control mechanism, covering formulation of regulations or guidelines to control or direct the internal administration of the officers working at each local government and 6) the anticorruption policy, covering the use of inspection reports, establishing an organization to fully inspect, and attracting citizen sector and the media to participate in monitoring the administration of local government, based on good governance, ethics and enforcement of laws. The factors affecting the failure of anti-corruption policy implementation in local government consisted of: 1) an inadequate policy formation suffering from the leadership, skills, understanding and determination; 2) the poor operation of staff by poorly trained and underperformed manpower; 3) lack of the policy, the general public and media that covered readiness, opportunity, and public relations to lead the general public and media to participate in internal administration of the local government; 4) the inspection organization that lacked manpower, resources as well as an influence of negative politicization and 5) such negative environment as the destructive resistance and protests of the stake holders and conditions of time, location, events, economy, politics and society. For the guidelines for anti-corruption measures in local government in Thailand, the government must recognize the factors affecting the success of anti-corruption policy implementation in local government and employ those factors officially. Furthermore, the government must pay attention to the factors affecting the failure of anti-corruption policy implementation in local government and eliminate them. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1747 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KAN SRIVIPASATHIT.pdf | 20.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.