Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1751
Title: ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารสังกัด สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
Other Titles: The Organizational commitment in the military under national defence studies institute, royal Thai Armed forces headquarters
Authors: จิณณรัตน์ สำรวมจิต
metadata.dc.contributor.advisor: ภัทรียา สุมะโน
Keywords: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ -- พนักงาน -- ทัศนคติ -- วิจัย;ความผูกพันต่อองค์การ -- วิจัย;ข้าราชการทหาร -- ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัด สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัด สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการทหารประจาการที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ประจาปีงบประมาณ 2555 จำนวน 1,416 นาย ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้คิดเป็น จำนวน 311 นาย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนของชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi – square และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหาร สังกัด สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ อยู่ในระดับสูง และจากผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และปัจจัยด้านประสบการณ์ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน สาหรับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า รายได้ประจามีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ในขณะที่ เพศ อายุ การศึกษา การสมรส ระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์การ ตาแหน่ง และรายได้เสริม ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในรายละเอียดขององค์ประกอบความผูกพันต่อองค์การแล้ว พบว่าการสมรสมีความสัมพันธ์กับความปรารถนาที่จะดารงรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การ ระยะเวลาปฏิบัติงานในองค์การ มีความสัมพันธ์กับความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อประโยชน์ขององค์การ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย มี 2 ด้าน คือ (1) ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งต้องเอาใจใส่ดูแลกำลังพลอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งในเรื่องการปฏิบัติงานและเรื่องส่วนตัว ควรเสริมสร้างจุดแข็งให้เกิดขึ้นภายในองค์การอย่างยั่งยืน ควรมอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล และเน้น การทำงานเป็นทีม ตลอดจนมีการจัดระบบหมุนเวียนการปฏิบัติงานในองค์การที่ชัดเจน ควรเสริมสร้างบรรยากาศภายในองค์การให้มีความน่าอยู่และน่าทำงาน ตลอดจนจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์ในองค์การให้มากขึ้น (2) ข้อเสนอในการวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ ควรขยายขอบเขตการศึกษาวิจัยในส่วนที่มิได้ครอบคลุมการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ควรจะมีการศึกษาความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทั้งกองบัญชาการกองทัพไทย ที่ปฏิบัติงานในทุกสายงานและควรมีการศึกษาวิจัยโดยการนาความผูกพันต่อองค์การมาใช้เป็นตัวแปรอิสระเพื่อหาผลกระทบต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากระดับความมากน้อยของความผูกพันต่อองค์การ
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were (1) to study the degree of commitment to the organization and (2) to study the related factors that affect the commitment and (3) to study ways to enhance the level of organization commitment. The population used in this study were 1,416 military staff under National Defence Studies Institute, Royal Thai Armed Forces Headquarters, for fiscal year 2012 and the sample size was 311 persons. By using proportional stratified random sampling, the tools used to collect the data was questionnaire and all information was analysed by using a computer program. The statistics used in data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation and Chi – square and the correlation analysis had a statistical significance level of 0.05 The result of this research indicated that the commitment to the organization was at a high level. And the result from the hypothesis test revealed that the factors related to the commitment were the feature of the work performed and the experience gained from the operation. For different demographics, it was found that gender, age, education, marital status, period of employment, position and extra income had no relationship with the commitment while annual income did. However when taking details into consideration, the marital status was found to be correlated with the willing determination of being the organization’s staff. Moreover, it was found that period of employment and annual income correlated with the staff ’s dedication to the organization. The recommendations were divided into two parts. The first part was about applying this research in the organization. The suggestion was that commanders should be a role model to their subordinates and take responsibility to take care all staff fairly both in operation as well as personal lives. The strong points in the organization should be creatively built. They should assign the right jobs to the right persons and encourage teamwork including establish fair rotation system. They should create pleasant working environment as well as activities to build good relationship among staff in the organization. The second part was about the suggestion for further researches. The educational scope should cover others aspects that have not been mentioned before. The commitment of all staff in the Royal Thai Armed Forces Headquarters should be included in the research. The new research should bring up the different degrees of commitment as variables to find out more impacts to the organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต))-- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1751
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JINNARAT SAMRUAMJIT.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.