Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1769
Title: | การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดยใช้หลักธรรมาภิบาล |
Other Titles: | Development of private primary school management model by implementing good governance orinciples |
Authors: | ศิริพันธ์ เกตุไชโย |
metadata.dc.contributor.advisor: | มานิต บุญประเสริฐ |
Keywords: | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- วิจัย;ธรรมาภิบาล -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนโดย ใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจความคิดเห็น การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาเอกชน ร่างรูปแบบการบริหารและตัวชี้วัดหลัก ความโปร่งใสและหลักความคุ้มค่า นำรูปแบบการบริหารไปทดลองใช้กับโรงเรียนประถมศึกษา เอกชนครั้งที่ 1 นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขและทดลองใช้รูปแบบการบริหารกับโรงเรียน ประถมศึกษาเอกชนครั้งที่ 2 ประเมินรูปแบบและสรุปผลการวิจัย ผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยการเลือกแบบเจาะจง 28 โรงเรียน จำนวน 28 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นครูโรงเรียนทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้ หลักธรรมาภิบาล จำนวน 2 โรงเรียนรวม 90 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 118 คน เครื่องมือ ในการทดลองได้แก่รูปแบบการบริหารสถาน ศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใส และหลักความคุ้มค่า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 28 คน เห็นว่าหลักธรรมาภิบาลที่ เหมาะสมกับสถาน ศึกษาเอกชน ได้แก่ หลักความโปร่งใสและหลักความคุ้มค่า รูปแบบการบริหาร โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใสและหลัก ความคุ้มค่ามีปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย แผนกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนและตัวชี้วัดหลักความ โปร่งใสและหลักความคุ้มค่า ในกลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงาน งบประมาณ กลุ่มงานบุคลากร และกลุ่มงานบริหารทั่วไป ตัวบ่งชี้หลักความโปร่งใสและความคุ้ม ค่าที่บูรณาการกับงานสี่ด้าน และปัจจัยกระบวนการคือการฝึกอบรมและการประเมินผล เมื่อทดลอง ใช้รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นกับโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แล้ว มีการ ประเมินความรู้ความเข้าใจของครูโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม เกี่ยวกับหลัก ธรรมาภิบาลและการนำหลักธรรมาภิบาลตามตัวชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน พบว่าครูมีความรู้ความ เข้าใจในการนำหลักธรรมาภิบาลด้านหลักความโปร่งใสและหลักความคุ้มค่าไปใช้ มีคะแนนเฉลี่ย ดีมากทั้ง 2 โรงเรียน (ร้อยละ86) จากการสัมภาษณ์ครู พบว่าครูสามารถนำรูปแบบการบริหารไป ใช้ได้ในสถานการณ์จริง ทำให้การบริหารงานมีความชัดเจน เป็นระบบ โปร่งใสโดยบุคลากรมีส่วน ร่วม การใช้ทรัพยากรของโรงเรียนมีความคุ้มค่า |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this study was to develop a management model for a private primary school by implementing good governance principles. The study used research and development design, consisting of five steps, i.e. survey of opinions towards the implementation of good governance principles in management process of private primary school, draft a management model by implementing the transparency and value for money principles and their indicators, try out the developed management model first time with a private primary school in Pathumthani, then improved the management model using feedbacks from participants, try out second time with another private primary school in Pathumthani, evaluated the effectiveness of the management model and conclusion. The informants in this study consisted of school managers or licensees, under Office of the Private Education Commission, Office of Pathumthani Primary Educational Service Area 1, who were purposively selected, totaling 28 participants from 28 schools; and informants in the two try-out schools totaling 90 participants. The grand total of participants was 118. The instrument for the study was a developed management model by implementing the transparency and value for money principles, and the tools for collecting data were questionnaire, structured interview form, observation form. Descriptive statistics, i.e. percentage, mean, were used in analyzing data. The collected data from interview of 28 administrators was recorded. The content was analyzed and the result revealed that the transparency and value for money principles were considered appropriate for private school. Regarding the developed private primary school management model by implementing the transparency and value for money principles, the Model consisted of school Strategic Plan and Indicators of Transparency and Value for Money principles for the 4 school management functions, i.e. academic, budget, personnel, and general administration;; and Training and Evaluation The developed model was tried out in two private primary schools, one at a time. At the end of each try out, there was an evaluation of understanding of teachers by using questionnaire about good governance principles and an evaluation of their performance using the prescribed indicators at work by using observation form. The result showed that the level of understanding of teachers in both schools was very good (86 per cent). The result of teachers’ interview analysis showed that teachers could use the developed management model with their work. The model made the management process clear, systematic, and transparent with participation of personnel. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1769 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SIRIPUN KATECHAIYO.pdf | 6.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.