Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1770
Title: | การพัฒนากิจกรรมการเสริมสร้างวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้วิธีสะท้อนความคิดแบบผสมผสาน |
Other Titles: | Activities development for the enhancement of primary school students' self-discipline in responsibilities by using integrated reflective methods |
Authors: | ประภาพรรณ อิ่มกะดี |
metadata.dc.contributor.advisor: | อุบล สรรพัชญพงษ์ |
Keywords: | นักเรียนประถมศึกษา -- การเสริมแรง (จิตวิทยา);วินัยในโรงเรียน -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Action research) มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้กิจกรรม 4 แบบ คือโฮมรูม การอบรมคุณธรรม พี่ต้นแบบและรักษ์สะอาด เพื่อแก้ปัญหาการขาดวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในการณ์นี้ ผู้วิจัยใช้วิธีสะท้อนความคิดแบบผสมผสานระหว่างครูและผู้ปกครองเพื่อร่วมมือกันสอดส่องดูแลและแก้ไขความประพฤติที่ไม่ต้องประสงค์ของนักเรียน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ครูประจําชั้นนักเรียนระดับประถมศึกษา 6, 2) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้านวินัย 3) นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีปัญหาด้านวินัย และกลุ่มที่มีความประพฤติดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เป็นส่วนที่ผู้วิจัยใช้เอง ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน แบบสัมภาษณ์ครูประจําชั้น แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และแบบสังเกตการณ์การดําเนินกิจกรรม ส่วนที่สอง ครูประจำชั้นเป็นผู้ใช้ข้อมูลส่วนนี้เก็บจากแบบบันทึกพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน แบบสังเกตการดำเนินการจัดกิจกรรมส่วนที่สามผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมและแบบประเมินพฤติกรรมและแบบประเมินพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน การวิจัยในชั้นเรียนนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1.วางแผน (Plan) ได้แก่ การจัดทําแผนปฏิบัติการ จัดเตรียมเอกสาร จัดเตรียมเครื่องมือ 2) ปฏิบัติ (Act) ได้แก่ ประชุมเชิงปฏิบัติการ การให้คําปรึกษากลุ่ม 3) สังเกต (Observe) ได้แก่ ประชุม เชิงปฏิบัติการ เก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ และให้คําปรึกษา กลุ่ม 4) สะท้อนผล (Reflect) ได้แก่ รวบรวมสรุปผลการดําเนินการจากการจัดกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความตระหนักในการรักษาวินัยทั้งต่อตนเองและ ต่อส่วนรวม 2. บทบาทของผู้ปกครองและครูในการเสริมสร้างวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบ ของนักเรียน คือ ผู้ปกครองต้องดูแลเอาใจใส่ สังเกตพฤติกรรมของเด็กอย่างสม่ําเสมอ และมีเวลาที่จะพบปะพูดคุยกับครูประจําชั้นเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและให้กําลังใจแก่เด็ก ในส่วนของครูบทบาทในการส่งเสริมนักเรียนให้มีวินัย เนื่องจากครูเป็นผู้ใกล้ชิดและมีหน้าที่หลักในการอ สอน ทั้งวิชาการและจริยธรรม เมื่อเกิดปัญหา ครูต้องปรึกษากับผู้ปกครองทันที เพื่อแก้ปัญห เด็กร่วมกัน 3. ประสิทธิผลของกิจกรรมการเสริมสร้างวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบของ นักเรียนพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีพฤติกรรมการมีวินัยด้าน ความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อส่วนรวม อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดใน เรื่อง แต่งกายสะอาดถูกต้องตามระเบียบวินัยของโรงเรียน และปฏิบัติตามข้อตกลง กฎ ระเบียบ ของ โรงเรียน |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aims to use 4 activities namely homeroom, virtue training, model seniors, and hygiene campaign into grade 6 primary school students' extracurricular interactions to enhance their self-discipline in responsibilities. In this process, integrated reflective methods between teacher and parents were used so that the 2 parties could collaboratively observe, report, and discuss students' behavior improvement, problems, and ways to solve the challenges. Participants in this project were 15 grade 6 students purposively selected from primary education scheme. There were 3 main research instruments. The first category used by the researcher contains 3 interviews (with an administrator, a class teacher, and parents) and observations (on activities to encourage students' responsibilities). The second type is data from the class teacher's logs, observation checklists, and activity evaluation toward students' behavior and improvement. The third is data garnered from parents' notes on student behaviors and parents' reflection on the behaviors. The researcher employed 'action research' containing the 4 steps: plan, act, observe, and reflect (PAOR) were used with 4 previously mentioned activities during the whole semesters at the target school. At the end of each activity, teacher and parents met to discuss students' problems and progress. The close collaboration between the school and home resulted in positive outcomes as students became more responsible and realized the value of responsibility toward themselves and the community they belonged to. In addition, teacher and parents better cooperated in grooming their children. They understood the school's policy and became active and supportive stakeholders. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (การศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1770 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-ES-D-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAPAPUN IMKADEE.pdf | 12.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.