Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1776
Title: โรคเกาต์และการรักษาในเชิงทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
Other Titles: Gout and Thai traditional medicine perspective
Authors: จันทนา สิริพรหมภัทร
metadata.dc.contributor.advisor: รตนพร ศุภลักษณ์นารี, ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา
Keywords: โรคเกาต์ -- การรักษา -- วิจัย;การแพทย์แผนไทย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: โรคเกาต์เป็นโรคปวดเรื้อรังและรุนแรงตามบริเวณข้อต่างๆ เช่น ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อกระดูก กระดูกอ่อน เส้นเอ็น กระดูกอ่อนที่หู รวมทั้งเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุเกิดจากมีการตกผลึกของกรดยูริค ตามบริเวณดังกล่าว หลังจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง จากสาเหตุต่างๆ เช่น ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีพีวรีนสูง ร่างกายขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ น้อยลง เป็นต้น ผู้ชายเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายสูงอายุ ซึ่งอาจ เกิดจากการรับประทานอาหารเนื้อสัตว์เป็นประจำ การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ผู้หญิงเป็น โรคเกาต์มักเกิดอาการหลังหมดประจำเดือนเพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยให้ไตขับถ่ายได้ดี กรดยูริคจึงคั่งค้างในร่างกายเรียกว่าโทฟาย (topihi) ผู้ป่วยโรคเกาต์มักมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน อย่างฉับพลัน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า จะพบบ่อยที่สุด มักจะปวดข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อม กัน อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง การรักษาผู้ป่วยโรคเกาต์ในแผนปัจจุบัน นิยมให้ยาไปตาม อาการ เช่นให้ยาลดอาการปวดอักเสบตามข้อ ให้ยาลดกรดยูริคตกตะกอน และให้พักผ่อน ซึ่งการใช้ ยาบรรเทาอาการดังกล่าว ไม่สามารถรักษาโรคเกาต์ได้ และการใช้ยาปัจจุบันยังมีผลข้างเคียงต่อ ร่างกาย เช่น กดการสร้างเม็ดเลือดทีไขกระดูกทำให้โลหิตจาง เกิดแผลในกระเพราะอาหาร มีพิษ ต่อตับ เป็นต้น การรักษาโรคเกาต์ในเชิงทฤษฎีการแพทย์แผนไทยจึงเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษาโรคเกาต์ ให้หายขาดได้ ผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยการรักษาโรคเกาต์จากผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์แผนไทยจำนวน 7 ท่าน โดยศึกษาเปรียบเทียบในด้านต่างๆ อาทิ แนวทาง/ทฤษฎีที่ใช้ คำจำกัดความ สาเหตุ อาการ การตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษาโรคเกาต์ ประสิทธิผลในการรักษา ข้อห้ามและข้อควรระวังใน การรักษาด้วยยาสมุนไพร ผลการศึกษาพบว่า มีตำรับยาแผนไทยจากพระคัมภีร์ที่ใช้รักษาโรคเกาต์ (ไขข้อ) ในพระคัมภีร์ ธาตุวิภังค์ 8 ขนาน พระคัมภีร์ชวดาร 10 ขนาน พระคัมภีร์ตักศิลา 3 ขนาน และพระคัมภีร์กษัย 6 ขนาน วิธีการรักษาโรคเกาต์ พบว่าแพทย์แผนไทย 5 ท่าน (จาก 7 ท่าน) (71.4%) ใช้วิธีล้างพิษสารตกค้าง ภายในร่างกายด้วยการใช้ยาประจุ เป็นยาพรหมภักตร์ 3 ขนาน จากนั้นใช้ยาบำรุงธาตุเส้นเอ็นพิการ ตามด้วยคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ในหนังสือแพทยศาสตร์สงเคราะห์ และ 1 ท่านใช้ตำรับยาที่ตั้งขึ้นเอง อีก 1 ท่านไม่ใช้ยาประจุ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์แผนไทยทุกท่าน ต่างมีความเห็นตรงกันว่าการ รักษาโรคเกาต์ด้วยสมุนไพรและตำรับยาทางการแพทย์แผนไทยสามารรักษาโรคเกาต์ได้ผลร้อยละ 50-80 สาเหตุที่ประสิทธิภาพการรักษาได้ผลไม่เต็มที่ เนื่องจากผู้ป่วยไม่เคร่งครัดในการงดของแสลง ในระหว่างรับประทานยาแพทย์แผนไทย ทำให้ฤทธิ์ในการรักษาลดน้อยลง ซึ่งยาสมุนไพรรักษาโรค เกาต์จากพระคัมภีร์ในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์มีศักยภาพในการรักษาสูง ควรมีการศึกษาพัฒนา ต่อไปในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนารูปแบบของยาและการศึกษาทางคลินิก เป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: Gout is a chronic disease with severe painful symptoms at joints of various organs e.g. foot, hand, ankle, elbo, bone, cartilage, tendon, era cartilage, and other tissues caused by deposition of uric acid (tophi) from high purine consumption from food and low efficiency in uric acid excretion. Elder man shows 9-10 times higher risk of gout than woman because man prefers meat, cigarette, and alcohol more than woman. Menopause woman shows higher incidence of gout as lack of estrogen, a sex hormone helps in renal excretion. Acute gouty symptoms e.g. pain, swelling, rash are most often seen at great toe joints while less commonly occurred at other joints in both single or multiple areas can be observed. Treatment of gout by modern (western) medicine concerns about relieving gouty symptoms by using analgesic (pain killer), anti-inflammatory drug, anti-uric acid crystallization and resting. However, the drugs mentioned can’t cure gout and resulted in some severe adverse effects e.g. immunosuppression, peptic ulcer, hepatotoxic etc. Therefore, Thai traditional medicine prespective is an alternative way for radical cure of gout. In this study, seven professional, well- recognized by the ministry of public health were interviewed of their successful treatment of gout in many aspects; the concept and theory, definition, causes, symptoms, diagnosis, therapy, efficiency, precaution and contraindication. The results showed 27 medicine herbal recipes used in treatment of gout from Rama V Thai traditional medicine textbook as following details: Thad-Wi-Pang (8), Cha-Wa-Darn (10), Tak-Ka-Si-La (3) and Ka-Sai (6). Most therapy (71.4%) consist of detoxification before treatment with the same herbal recipe from RAMA V Thai traditional medicine textbook. In this study, only 50-80% drug efficiency were reported according to inconvenience of drugs administration e.g. dosage form, a number of food forbidden to eat during herbal drug intake. However, successful treatment of gout with herbal recipes mentioned above indicates high potential of radical cure which need further study in some aspects i.e. drug formulation, clinical study etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1776
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHANTHANA SIRIPROMPAT.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.