Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1800
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณกมล จันทร์สม | - |
dc.contributor.author | ณิชาภา สายทอง | - |
dc.date.accessioned | 2023-07-20T03:39:16Z | - |
dc.date.available | 2023-07-20T03:39:16Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1800 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การเป็นผู้ประกอบการ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคมในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี (2)เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้ ในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี (3)เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลให้เกิดระดับของแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคมในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี และ(4) เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลให้เกิดระดับของปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้ ในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 333 ชุด ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ผู้ทำการวิจัยได้เลือกจำกัดขอบเขตโดยเลือกเฉพาะอาคารและลานสินค้าที่สำคัญ จำนวน 20 อาคาร/ลานสินค้า จากผู้ประกอบการทั้งหมด แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ระดับ คือ การเลือกแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) เก็บกลุ่มตัวอย่างในทุกอาคาร/ลานสินค้า และ การเลือกตามที่มีอยู่ (Accident Sampling) เนื่องจาก ในแต่ละอาคาร/ลานสินค้า มีสัดส่วนจำนวนของผู้ประกอบการไม่เท่ากัน และใช้สถิติในการวิเคราะห์หาข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าความถี่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐาน โดยมีการกำหนดนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกิดจากแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคม ด้านปัจจัยดึงดูดมากที่สุด (1) ด้านลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 40--49 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่่ำกว่า มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 30,001 – 50,000 บาท และ 50,001 – 100,000 บาทขึ้นไป และมีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 6--10 ปีเป็นส่วนใหญ่ โดยสามารถเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในอาคารพาณิชย์ได้มากที่สุด (2) ผู้ประกอบการมีระดับของแรงจูงใจทางด้านการกระทำทางสังคมที่แตกต่างกัน โดยเรียงลาดับจากปัจจัยที่มีแรงจูงใจมากที่สุดไปหาแรงจูงใจน้อยที่สุด คือ ปัจจัยดึงดูด ด้านปัจจัยด้านความสามารถ หรือปัจจัยสนับสนุน และ ปัจจัยผลักดัน (3) ผู้ประกอบการมีระดับของแรงจูงใจในทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้แตกต่างกัน โดยความต้องการความสำเร็จมีผลต่อแรงจูงใจของผู้ประกอบการมากกว่าความต้องการอำนาจ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ตลาดไท -- ไทย -- ปทุมธานี | en_US |
dc.subject | ผู้ประกอบการ -- ไทย -- ปทุมธานี | en_US |
dc.subject | ธุรกิจขนาดย่อม -- การจัดการ -- วิจัย -- ไทย | en_US |
dc.title | แรงจูงใจในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการบริเวณตลาดไท จังหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.title.alternative | Motivation in business setting of entrepreneurs in the area of Taladthai, Phathumthani | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purpose of this research were to study (1) The motivation level of social action factor in business setting of entrepreneurs in the area of Taladthai, Phumthani. (2) The level’s motivations factor in business setting of entrepreneurs in the area of Taladthai, Phumthani. (3) The different of demographic characteristics that affect to the motivation level of social action factor in business setting of entrepreneurs in the area of Taladthai, Phumthani. (4) The different of demographic characteristics that affect to the level’s motivations factor in business setting of entrepreneurs in the area of Taladthai, Phumthani. These sample groups of this research were entrepreneurs who operate in the area of Taladthai, Phumthani. The research instruments were questionnaire 333 sets and used Nonprobability Random Sampling. The researcher used Quota Sampling and Accident Sampling because the researcher collect information in every building or product yard where have the number of entrepreneurs inequality. Statistic used to analyze the data was descriptive statistics and compare means by statistically correlated with the procedures at 0.05 level of significant. The findings of this research were that most of entrepreneurs have motivation from pull factor more than the others. (1) Most of entrepreneurs were woman, age 40 49 years old, married status, secondary education or lower, average income 30,001 – 50,000 and 50,001 – 100,000 per month, experience in business 6-10 years and the most collecting information in the commercial building. (2) Entrepreneurs have different motivation level of social action from the highest level to the lowest level were pull factor, ability factor and push factor. (3) Entrepreneurs have different motivation level of learned needs theory from the highest level to the lowest level were need for achievement and need for power. | en_US |
dc.description.degree-name | การจัดการมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การเป็นผู้ประกอบการ | en_US |
Appears in Collections: | BA-MM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NICHAPA SAITHONG.pdf | 12.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.