Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1808
Title: กระบวนการสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
Other Titles: The Process of corporat social responsibility innovaton development of Bangchak Pettoleum PLC
Authors: วรัญญา ศรีเสวก
metadata.dc.contributor.advisor: สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ
Keywords: บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) -- แง่สังคม -- วิจัย;ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและปัจจัยความสำเร็จด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัยพบว่า บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งสร้างคุณค่าที่สอดคล้องร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ของบริษัททุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้นำแนวทางการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเข้าไปบูรณาการในกระบวนการดำเนินธุรกิจหลักในการ ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบโดยครอบคลุมการบริหารจัดการทั้งองค์กร ตั้งแต่นโยบาย กลยุทธ์แผนปฏิบัติการ การวิเคราะห์ และการประเมินผล มุ่งเน้นการดำเนินการจากภายในสู่ภายนอก(Inside - Out) การมุ่งเน้นระบบ (Process Based) และมุ่งเน้นในเรื่องของผลการดำเนินการ(Performance Driven) ที่สร้างสมดุลระหว่างด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนนำมาสู่การสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรทั้งนวัตกรรมการบริหารจัดการนวัตกรรมผลิตภัณท์และบริการและนวัตกรรมที่เกิดจากโครงการเพื่อสังคมโดยมีกระบวนการในการสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่เริ่มต้นจากการนำองค์กรโดยผู้นำที่ได้กำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กร ในการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคม มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ผสมผสานไปในกลยุทธ์ธุรกิจที่นำไปสู่การกำ หนดแผนปฏิบัติและการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของกลยุทธ์เกิดการสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในระดับการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และโครงการเพื่อสังคม และมีกระบวนการวัดวิเคราะห์และประเมินผลในการดำเนินการเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและนำไปสู่การกำหนดนโยบายใหม่ๆ โดยการดำเนินการทั้งหมดเชื่อมโยงกันด้วยการใช้ กระบวนการเชื่อมโยงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่ทำให้เกิดความสอดคล้องของระบบคุณค่าขององค์กรและสังคม สำหรับปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ บริษัท บาง จาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พบว่า ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกมีส่วนสำคัญควบคู่กันที่จะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จโดยปัจจัยภายในประกอบด้วย 1) การนำองค์กร 2) การ พัฒนากลยุทธ์ 3) การสื่อสารเพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินความรับผิดชอบไปได้ในระดับปฏิบัติ4) มีการเชื่อมโยงแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้าและตลาด 5) สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ CSR 6) เชื่อมโยงกับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก 7) การวัดวิเคราะห์และประเมินผลโดยการดำเนินการต้องสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกในเรื่องความต้องการของสังคม ทั้งในระดับชุมชนตลาดและสังคมในวงกว้างผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หากองค์กรธุรกิจองค์กรใดที่ต้องการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้ประสบผลสำเร็จและนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและสังคมเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินงาน CSR ที่ไม่เกิดประสิทธิผลและเป็นเพียงต้นทุน ในการดำเนินงานตลอดจนการลดผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินงานองค์กรธุรกิจสามารถปรับการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรตามกระบวนการดำเนินการของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) โดยปรับให้สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจขนาดขององค์กรผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนบริบททางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่องค์กรเกี่ยวข้องได้
metadata.dc.description.other-abstract: The study about “The Process of Corporate Social Responsibility Innovation Development of Bangchak Petroleum PLC" is a Qualitative Research containing the documentary primary data and In-depth Interviews. It has the objectives to identify the Process and the Key Success Factors of the CSR of Bangchak Petroleum PLC. The research findings show that Bangchak Petroleum PLC has conducted its business with social responsibility by embedding into the business strategy which is rolled out into each function to achieve the goal. The output does not generate at the activity level but is a result of the Process-Based operation which emphasizes from Inside-Out and Performance Driven to balance the economy, society and environment in a sustainable way. As that fact, the practices lead into the CSR Innovations either in the process of Innovation management, Product and services and Social Campaigns. The process to the creation of the CSR Innovation of Bangchak Petroleum PLC comprises of the stages starting from the identification of the company’s Vision, Mission and organization culture in order to create the value to the company by generating the profit at an appropriate level in parallel with the value to the environment and the society. Consequently, this leads to the strategic planning and operations to achieve the targets of the CSR Innovation Strategy. Moreover, there are measurements and evaluation process for improvements that will lead to the initiation of the new projects and investment with efficiency and stakeholder engagement. The key success factors of Bangchak Petroleum PLC derive from both internal and external causes. The internal factors include 1) Organization Leadership, 2) Strategy Development, 3) Communications integrated into implementations, 4) Integration of CSR into the Product, Services and Marketing, 5) Engagement into CSR, 6) Linkage with society and external environment, 7) Analysis of measurement and evaluation relating to the external subjects of social needs at a community, marketplace as well as the publics. The researcher suggests that, for a company that aims for successes and innovations in CSR that will create the shared values among the company and the society which will not only generate efficiency but reduce cost and risk in operations, should adopt the practices of Bangchak Petroleum PLC's CSR while adapting to its own industry, business type, market size, stakeholders as well as related environment and society.
Description: วิทยานนิพนธ์ (ศศ.ม.(ผู้นำทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1808
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WARANYA SRISAWEK.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.