Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/181
Title: | คุณภาพชีวิตการศึกษา ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Quality of Life in Private University Student, Pathumtani Province |
Authors: | อภิระมณ อุไรรัตน์ เฉลิมพร เย็นเยือก |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต |
Keywords: | สถาบันอุมดศึกษาเอกชน -- วิจัย;นักศึกษา -- การดำเนินชีวิต -- ปทุมธานี;คุณภาพชีวิต -- วิจัย -- ปทุมธานี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาที่กาลังศึกษาอยู่ในทุกชั้นปีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี ในปีการศึกษา 2560 จานวน 405 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test , Anova และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรตามวัตถุประสงค์การวิจัย ด้วยสถิติ Regression นาเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางประกอบการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.0 ศึกษาในชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 29.1 ศึกษาอยู่ในคณะวิชาบริหารธุรกิจ ร้อยละ 45.9 มีผลการเรียนเฉลี่ยระหว่าง 2.00 – 2.49 คิดเป็นร้อยละ 50.2 ได้รับค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 66.4 มีภูมิลาเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 30.4 พักอาศัยอยู่บ้านบิดา มารดา ร้อยละ 46.5 ส่วนสภาพแวดล้อมทางกายภาพของนักศึกษา สวนใหญ่ให้ความสาคัญกับ ความยินดี และเต็มใจที่จะทากิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.75 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .888 ด้านสภาพแวดล้อมการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสาคัญกับ ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเมื่ออยู่ในสถาบันการศึกษาเนื่องจากสถาบันมีระบบตรวจสอบที่ดี อยู่ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .760 ด้านการจัดการของสถาบัน ให้ความสาคัญกับการกาหนดแนวปฏิบัติ การออกกฎ ระเบียบต่างๆ ของสถาบันที่มีความชัดเจน เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .749 ด้านวิชาการ พบว่า ให้ความสาคัญกับรายวิชาที่เรียนมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.58 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .791 ด้านความสัมพันธ์ ให้ความสาคัญกับการได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ในสถาบันการศึกษาด้วยดีอยู่เสมอ ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .854 ด้านคุณภาพชีวิตการศึกษา ให้ความสาคัญด้าน (3) คุณภาพการศึกษากับการสถาบันแห่งนี้ทาให้ท่านได้เรียนรู้และมีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้นในอนาคต ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .799 ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้านประชากรศาสตร์กับผลการเรียนเฉลี่ยพบว่าทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นด้านชั้นปีการศึกษาที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการศึกษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากการได้รับการตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการในการศึกษาอย่างเพียงพอในแต่ละชั้นปีที่แตกต่างกัน และด้านที่พักอาศัยที่พบว่าการพักอาศัยอยู่กับครอบครัวจะมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกับการพักที่อื่น เนื่องจากการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัวที่ดีมากกว่าต้องมาช่วยเหลือตนเองเมื่อพักที่อื่น ส่วนการทดสอบความสัมพันธ์ด้านสภาพแวดล้อมการศึกษาในทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการศึกษาที่ระดับนัยสาคัญ 0.05 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research was to study the quality of educational life of undergraduate students at a private university in Pathum Thani Province. Selected through the convenience sampling technique, the subjects of the study were 405 students enrolling during the academic year 2017. The data collecting instrument was questionnaire. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA and Regression. The results of the research can be described as follows: the majority of the group were females (56%), studying in their third year (29.1%), possessing an average G.P.A of 2.00-2.49 (50.2%), and receiving monthly income of less than 15,000 baht (66.4%). Most of the respondents lived in Bangkok (30.4%) with their parents (46.5%). The mean scores of education environment factors were at moderate level in most aspects: being aware of safety of life and property due to the university’s good monitoring system and the opportunity to learn and do activities on campus. When the demographic data towards the average of the cumulative grade point average were compared, it was found that there were no differences overall. The results showed that the relationship between environmental factors and quality of educational life aligned in a positive way at significance level of 0.05. Recommendation from the research was that the university administrators, instructors, and student including parents should carry out joint operations in all areas by developing a network to coordinate all activities with good support and shared resources. With this, students could learn, do research or academic activities, and create a good relationship among themselves. Nevertheless, the instructors should provide some useful guidelines of how to do activities for the students. The instructors should encourage the students’ cooperation and support them to participate in activity-based learning as a (5) group. The instructors should also encourage the students’ creativity through group brainstorming within friendly environment |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/181 |
metadata.dc.type: | Book |
Appears in Collections: | BA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apiramon Ourairat.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.