Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1880
Title: การศึกษาการรับรู้กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรด้านไอที
Other Titles: A study on IT law perception of IT professional
Authors: ทิพย์สุดา ขาวสำอางค์
metadata.dc.contributor.advisor: ชุติมา เบี้ยวไข่มุข
Keywords: กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาการรับรู้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของบุคลากรด้านไอที นำไปสู่การหาแนวทาง เพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมาย และแนวทางในการเผยแพร่กฎหมายผ่านเว็บไซต์ยอดนิยมในหมวด หน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการป้องกันสิทธิของบุคลากรด้านไอที ตลอดจนประชาชนทั่วไป การวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Survey) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires Survey) ผลการวิจัยพบว่าประเภทอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่พบมากที่สุด คือการนำเข้าหรือ เผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ที่ก่อความเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็ จะพบว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากประชาชนยังไม่ทราบสิทธิหน้าที่ของตนตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาในการบังคับใช้ กฎหมาย ตลอดจนกฎหมายมีช่องโหว่หลายประการ และการใช้สิทธิเรียกร้องของประชาชน เป็นเรื่องที่มี ขั้นตอนยุ่งยาก และได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจด้วย แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมาย ได้แก่ การ แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เช่นกำหนดให้ม้าโทรจันหรือสปายแวร์เป็นความผิด หรือนิติบุคคลควรต้องรับ ผิดร่วมกับพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น ส่วนแนวทางเผยแพร่กฎหมายผ่านเว็บไซต์สำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมในหมวดหน่วยงานราชการ ได้แก่ควรทำเว็บลิงค์เชื่อมโยง กับเว็บไซต์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ควรเผยแพร่กฎหมายด้วยข้อความสั้นและกระชับ บนหน้า แสดงผลการออกรางวัลสลาก เป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: This research is conducted to study on the Computer Crime Act perception of IT professionals in order to propose the appropriate guideline to improve and disseminate such law via a popular government website. This will lead to be the protection of the rights not only for IT professionals but also the general people in the country. The methodology of this study composed of three aspects which are documentary survey, in-depth interview and questionnaires survey. The results showed that the most common types of computer crimes are importing and distribution of inappropriate content that leads to any damage. However, the law cannot tackle cybercrime effectively. People are not aware of their legal rights. State officials have problems in enforcing the law. The law has several loopholes. In addition the claims of citizens are cumbersome processes and the results are not satisfactory. The guidance to enhance this law includes the amendment of the law such as determine Trojan horse or spyware as wrong, firms or corporations should be liable in guilt with the employees. The guidelines of publishing law through the Government Lottery Office (GLO) website which is the most popular government website includes providing the web link, displaying each section of the law with a short and concise phrase on the lottery prize announcing page, etc
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1880
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-ITM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TIPSUDA KAOSAMANG.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.