Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1882
Title: การวิเคราะห์ปริมาณกรดฟรูลิคด้วยเครื่องเดนซิโตมิเตอร์และผลกระทบของอุณหภูมิ เวลาและสารลดแรงตึงผิว ต่อความคงตัวของกรดฟรูลิคจากสารสกัดโกศเชียงในตำรับไมโครอิมัลชั่น
Other Titles: Quantitative densitomeric analysis of ferulic acid and effect of temperature time and surfactant on the stability of ferulic acid in microemulsion of angelica sinensis extract
Authors: นิรันดร์ แย้มไผ่
metadata.dc.contributor.advisor: ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา, ธิติมา หลินหะตระกูล
Keywords: สารสกัดจากพืช -- การใช้ประโยชน์ทางการแำพทย์ -- วิจัย;โกฐเชียง (พืช) -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดเฟรูลิค และศึกษาผล กระทบของอุณหภูมิ เวลาและสารลดแรงตึงผิวต่อความคงตัวของกรดเฟรูลิคจากสารสกัดโกฐเชียง ในตำรับไมโครอิมัลชั่น การเตรียมไมโครอิมัลชั่นเลือกใช้ ทวีน 20 และครีโมฟอร์ อาร์เอช 40 เป็น สารลดแรงตึงผิว เตรียมโดยการสร้างเฟสไดอะแกรมใช้น้ำมันกานพูลเป็นวัฏภาคน้ำมัน ปรับ อัตราส่วนจนได้ตำรับที่มีลักษณะใสและโปร่งแสง เลือกมาอย่างละ 1 ตำรับ เพื่อใช้ศึกษาต่อไป กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการวิเคราะห์โดยTLC-densitometric method พบว่า สภาพความสัมพันธ์เชิงเส้น กราฟที่ได้เป็นเส้นตรง ค่าสัมประสิทธิความเป็นเส้นตรงเท่ากับ 0.9964 คลอบคลุมความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานที่ 36 – 180 นาโนกรัม/จุด ค่าความแม่นยำทั้ง ภายในแต่ละวันและระหว่างวัน ได้ค่าร้อยละความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 2% สำหรับ ค่าความถูกต้องโดยการเติมสารละลายมาตรฐานที่ 3 ความเข้มข้น ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละการกลับคืนอยู่ที่ 99.51% ปริมาณกรดเฟรูลิคจากสารสกัดโกฐเชียงที่คำนวณได้อยู่ในช่วง 1.91 ± 0.02 ถึง 2.06 ± 0.03 %w/w การศึกษาเรื่องความคงตัวของกรดเฟรูลิค พบว่าการเสื่อมสลายของกรดเฟรูลิคแปรผันตรง กับเวลา และกรดเฟรูลิคในตำรับที่ใช้อาร์เอช 40 มีการเสื่อมสลายมากกว่าตำรับที่ใช้ ทวีน 20 เป็น สารลดแรงตึงผิว (นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า 0.05) ที่อุณหภูมิ 2-4, 25± 2 และ 45 องศาเซล เซียล ทั้ง 2 ตำรับ พบว่ากรดเฟรูลิคมีอันดับปฏิกิริยาของการเสื่อมสลายเป็นอันดับหนึ่ง ที่อุณหภูมิ 2- 4 และ 25 ± 2 oC การเสื่อมสลายเกิดชัดเจนในช่วงเวลา 21 วันแรกทั้งสองตำรับ ที่อุณหภูมิ 45 oC การ เสื่อมสลายเกิดชัดเจนใน 14 วันแรกในตำรับที่ใช้ทวีน 20 และ 7 วันแรกในตำรับที่ใช้อาร์เอช 40 สำหรับความหนืด พบว่าตำรับที่ใช้อาร์เอช 40 มีค่าความหนืดมากกว่าตำรับที่ใช้ ทวีน 20 เป็น สารลดแรงตึงผิว (นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า 0.05) แต่ค่าความหนืดทั้ง 3 อุณหภูมิของแต่ละ ตำรับไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความเป็นกรด-ด่างของทั้ง 2 ตำรับอยู่พบว่า ในช่วง 4.89 – 5.83 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อครบ 28 วัน
metadata.dc.description.other-abstract: The main purposes of this work were to develop a quantitative densitometric analysis method of ferulic acid and to study the effect of temperature, time, and surfactant on the stability of ferulic acid in microemulsions of Angelica sinensis extract. These microemulsions were prepared by using tween 20 and cremophor RH 40 as surfactants and clove oil as oil phase. Optimization of the formulation was performed by using the psuedoternary phase diagrams. The formulations providing transparent solutions or transparent gels were accepted as microemulsions and were selected for further study. For the method of validation, the linearity showed a good regression coefficient with r2 = 0.9964 and covered the range of 36 – 180 ng/spot. For the precision, intraday and interday precision showed the relative standard deviation less than 2 %. The accuracy of the method was performed by standard addition method at 3 different concentration levels, and the average recovery was 99.51%. The amounts of ferulic acid in microemulsion of Angelica sinensis extract were determined by this method, and it was found in range of 1.91 ± 0.02 to 2.06 ± 0.03 %w/w. The study of stability of ferulic acid showed the degradation of ferulic acid was directly dependent on time. Degradation of ferulic acid in RH 40 microemulsion was significantly higher than that of ferulic acid in Tween 20 microemulsion (pvalue < 0.05). The kinetics of degradation of ferulic acid in both RH 40 and Tween 20 microemulsions at temperature of 2-4, 25± 2, 45 oC were first order reaction. At 2-4, 25± 2 oC ferulic acid in both formulations was significantly degraded within 21 days. However, at 45 oC, ferulic acid in Tween 20 formulation was degraded within 14 days but 7 days for ferulic acid in RH 40 formulation. The viscosity of RH 40 formulation was higher than that of Tween 20 formulation (p-value < 0.05). Nevertheless, the viscosity of these formulations at three storage temperature were not significantly different (p-value > 0.05). The pH values of either RH 40 or Tween 20 microemulsion were in the range of 4.89 – 5.83.They tended to increase with the storage time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1882
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NIRAND YAMPHAI.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.