Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1892
Title: | ทางเลือกในการจำลองผนังรับแรงเฉือนสำหรับวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ประกอบด้วยโครงข้อแข็งและผนังรับแรงเฉือนโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ |
Other Titles: | Alternative models for analysis of shear wall structures consisting of frame and shear wall by Finite Element Method |
Authors: | จีราพร ถิตย์ประดิษฐ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธรรมนูญ สุสำเภา |
Keywords: | ไฟไนต์เอลิเมนต์ -- วิจัย;โครงสร้างอาคาร |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ชิ้นส่วนคาน (Beam Element) แทนชิ้นส่วนผนังบาง (Shell Element) ในการจาลองผนังรับแรงเฉือนในอาคาร จำนวนทั้งหมด 304 กรณี ที่วิเคราะห์ด้วย SAP2000 จากอาคารที่มีผนังรับแรงเฉือนทั้งหมด 8 รูปทรง ได้แก่ รูปทรง B, E, H, I, L, O, S และ T ของอาคารสูง 5, 15 และ 25 ชั้น โดยพิจารณาการใช้ชิ้นส่วนแทนผนังรับแรงเฉือนเป็น 2 กรณี คือกรณีใช้ชิ้นส่วนผนังบางที่เพิ่มระดับความละเอียดของชิ้นส่วนเป็น 2x2, 4x4, 8x8, 16x16, 32x32 และ 64x64 ชิ้นต่อแผ่นต่อชั้น และกรณีใช้ชิ้นส่วนคานเป็นช่วงที่แข็ง (Rigid Zone) ชิ้นส่วนผนังบาง จากการวิเคราะห์ทั้งหมดมีกรณีลู่เข้าของผลลัพธ์เป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนน้อยไม่ลู่เข้าเพียง 3.47% หากแบ่งชิ้นส่วนผนังบางให้มีความละเอียดน้อย (2x2) เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ใช้ความละเอียดมาก (ลู่เข้าแล้ว) จะมีความต่างด้านการเคลื่อนที่ (Translation) คลาดเคลื่อนไปถึง 17.95% ด้านมุมหมุน (Rotation) 12.39% และค่าแรงเฉือน (Shear Force) 19.93% ชิ้นส่วนคาน จากการเปรียบเทียบของแบบจาลองที่ใช้ชิ้นส่วนคานและแบบจำลองที่ใช้ชิ้นส่วนผนังบาง ได้ความต่างของผลลัพธ์จากทั้ง 2 แบบจำลอง ในด้านการเคลื่อนที่อยู่ในช่วง 1.65-36.75% โดยมีค่าผลลัพธ์ใกล้เคียงกันมากที่สุดในกรณีที่ผนังรับแรงเฉือนมีรูปทรงตัว T และต่างกันมากที่สุดที่รูปทรงตัว I ด้านมุมหมุนอยู่ในช่วง 2.14-18.93% โดยมีค่าผลลัพธ์ใกล้เคียงกันมากที่สุดในกรณีที่ผนังรับแรงเฉือนมีรูปทรงตัว H และต่างกันมากที่สุดที่รูปทรงตัว S ด้านแรงเฉือนอยู่ในช่วง 1.38-7.20% โดยมีค่าผลลัพธ์ใกล้เคียงกันมากที่สุดในกรณีที่ผนังรับแรงเฉือนมีรูปทรงตัว L และต่างกันมากที่สุดที่รูปทรงตัว S กรณีผลลัพธ์ต่างกันเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 18.75% ของกรณีศึกษา โดยรูปทรงผนังรับแรงเฉือนที่ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันได้แก่ รูปทรง T, B และ H ส่วนรูปทรงผนังรับแรงเฉือนที่ผลลัพธ์ต่างกัน ได้แก่ รูปทรง I, S และ L |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research studied a possibility of using beam element replace shell element of shear wall in the building. A total of 304 cases were analyzed using SAP2000. The buildings in this study have shear wall with different i.e. B, E, H, I, L, O, S and T. The buildings also have 5, 15 and 25 stories. There were two main types of building model. For the first type, shear walls were modeled by shell elements with different divisions using 2x2, 4x4, 8x8, 16x16, 32x32 and 64x64 pieces per plate per floor. For the other type, shear walls were modeled by beam element consider rigid zone formation between column and beam. The study also showed that when using shell element with coarse division (2x2), the results may differ from the converge results by 17.95%, 12.39% and 19.93% for translation, rotation and shear force, respectively. Comparison of results from model using beams element and from model using shell element showed that. There were some differences between these models. The differences in horizontal translation were in the range of 1.65-36.75%. The building with “T” shape shear wall had smallest difference while the building with “I” shape shear wall had greatest difference. The differences in rotation were in the range of 2.14-18.93%. The building with “H” shape shear wall had smallest difference while the building with “S” shape shear wall had greatest difference. And the differences in shear force were in the range of 1.38-7.20%. The building with “L” shape shear wall had smallest difference while the building with “S” shape shear wall had greatest difference. The number of cases where differences of results are more than 20% is 18.75% of the total number of case study. The building with T, B and H shape shear wall had small difference while the building with I , S and L shape shear wall had significant difference. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1892 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng-CE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
JEERAPORN THITPRADIT.pdf | 16.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.