Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1895
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระ เตชะมณีสถิตย์-
dc.contributor.authorนพปฎล สุวรรณทรัพย์-
dc.date.accessioned2023-08-18T02:28:47Z-
dc.date.available2023-08-18T02:28:47Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1895-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาในเรื่องของการจัดซื้อจัดหาที่มีประสิทธิภาพ การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพทางการจัดซื้อ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันสำหรับอุตสาหกรรมซ่อมบำรุง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย และผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางการจัดซื้อ สำหรับอุตสาหกรรมซ่อมบารุงอากาศยานในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายที่เหมาะสม งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบเดลฟาย กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อ จากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน จำนวน 10 องค์กร องค์กรละ 2 ท่าน เพื่อหากรอบแนวคิดทางด้านการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายในอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน และทำการทดสอบกรอบแนวคิดโดยใช้การศึกษาจากกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายในอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน มี 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การจัดการความสัมพันธ์แบบผิวเผิน และการจัดการความสัมพันธ์แบบร่วมมือ โดยการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายแบบผิวเผิน จะเหมาะสมกับสินค้าที่มีความสาคัญต่ออากาศยานน้อย เป็นสินค้าที่มีผู้จำหน่ายหลายราย กิจกรรมของการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายแบบผิวเผิน จะเน้นเรื่องของการแข่งขันด้านราคา การเจรจาต่อรองที่สร้างความได้เปรียบ เสียเปรียบ การทำสัญญาซื้อ ขายระยะสั้น มีการปกปิดข้อมูล และ ไม่มีความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในเรื่องของต้นทุนราคาสินค้าเป็นหลัก แต่ส่งผลด้านลบในประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในด้านอื่นๆ ในขณะที่การจัดการความสัมพันธ์แบบร่วมมือ จะเหมาะสมกับสินค้าที่มีความสาคัญต่ออากาศยานสูง มีผู้จาหน่ายน้อยราย กิจกรรมของการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จาหน่ายแบบร่วมมือ จะเน้นในเรื่องของการลดต้นทุนทางการจัดซื้อโดยรวม เป็นการทำสัญญาซื้อ ขายระยะยาว มีการเจรจาต่อรองที่เน้นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงลึก และมีความร่วมมือ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยความสัมพันธ์ในรูปแบบดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในเรื่องของต้นทุนการขนส่งสินค้า และต้นทุนในการสั่งซื้อ เพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการตอบสนองการสั่งซื้อ ประสิทธิภาพทางการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านคุณภาพของสินค้าและผู้จำหน่ายen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการบิน -- การจัดการen_US
dc.subjectอากาศยาน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมen_US
dc.titleการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จำหน่าย กับผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางการจัดซื้อในอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานen_US
dc.title.alternativeSupplier relationship management and its effects on purchasing efficiency of aircraft maintenance industryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractAircraft maintenance industry in Thailand has been facing some problems with efficient MRO procurement. Supplier Relationship Management (SRM) is one of the important activities which play a role in improving purchasing performance. However, there is no evidence yet to prove this application in the aircraft maintenance industry. This research studies arm’s-length SRM and cooperative SRM practices, and their impacts on purchasing performance in the aircraft maintenance industry of Thailand. This research is a qualitative research, using the Delphi research method. Data were collected from purchasing managers and senior purchasing officers in the aircraft maintenance division of airlines, or organizations which provide aircraft maintenance, in Thailand. There were 10 organizations and 2 people from each organization. The data obtained were analyzed and synthesized to determine the framework of the research. The validity of the framework was checked by using case study method. From the results of this research, two main SRM types are found to be used in the aircraft maintenance industry of Thailand. They are arm’s-length SRM and cooperative SRM. Arm’s-length SRM is suitable for consumable parts, which are less important, have low value yet multiple suppliers. Purchasing activities in arm’s-length SRM emphasize on low prices by win-lose negotiation, making short-term contracts, and no collaboration and information sharing between buyers and suppliers. They only help to improve purchasing performance for reducing the goods price. On the other hand, cooperative SRM is suitable for first priority parts which are mostly repairable parts, have high value and are more important. Purchasing activities in cooperative SRM emphasize on joint cost reduction by win-win negotiation, making long-term contracts, open exchange of information and close collaboration between buyers and suppliers. They help to reduce the transportation and administrative costs, improve supplier performance in responding to customer demands and changes efficiently, improve the supplier performance in transportation and the quality of goods.en_US
dc.description.degree-nameบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineบริหารธุรกิจen_US
Appears in Collections:BA-BA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NOPPADOL SUWANNASAP.pdf22.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.