Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำอ้อย ภักดีวงศ์-
dc.contributor.authorศิรินภา ทองแดง-
dc.date.accessioned2023-08-18T05:25:12Z-
dc.date.available2023-08-18T05:25:12Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1902-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับรู้จากแพทย์ว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการที่หน่วยตรวจออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ) แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 197 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม Modified WOMAC Scale วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ไค สแควร์ และ Spearman Rank Correlation ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ด้านการออกกำลังกายและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเกี่ยวกับการใช้ข้ออยู่ในระดับดี อายุ การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 ในขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ดัชนีมวลกาย ภาวะสุขภาพ การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectข้อเข้าเสื่อม -- ผู้ป่วย -- วิจัยen_US
dc.subjectข้อเข่าเสื่อม -- การรักษาen_US
dc.subjectโรคข้อเสื่อมen_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมen_US
dc.title.alternativeFactors related to health promotion behaviors in persons with knee osteoarthritisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis descriptive-correlational study aimed to study health promotion behaviors and factors related to health promotion behaviors of persons with knee osteoarthritis. Pender’s Health Promotion Model was used as a conceptual framework. Purposive samples were 197 persons with knee osteoarthritis who attended Orthopedic clinic of Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center, Srinakharinvirot University. A structured questionnaire including demographic data, health promotion behaviors, perception factors, social support and health status was used to collect the data by interviewing. Descriptive statistics, Chi-square and Spearman rank correlation were used in data analysis. The results showed that mean scores of health promotion behaviors, exercise and activities of daily living with joint were at good level. Factors significantly positive related to health promotion behaviors were age, perceived benefit and perceived self-efficacy. Whereas no relationship was found between sex, body mass index, health status, perceived barrier, perceived social support and health promotion behaviors.en_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SIRINAPA THONGDANG.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.