Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1904
Title: การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติที่ได้รับการดูแลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
Other Titles: Unplanned extubation and duration of mechanical ventilation in critically patients receiving evidence-based care
Authors: บังอร นาคฤทธิ์
metadata.dc.contributor.advisor: อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: เครื่องช่วยหายใจ -- ผู้ป่วย -- วิจัย;ท่อช่วยหายใจ -- การพยาบาล -- วิจัย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) ชนิด Retrospective and Prospective before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติจากหลักฐานเชิงประจักษ์ต่อการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 114 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 57 ราย ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิมของโรงพยาบาล และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวน 57 ราย ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการประเมินระดับความรู้สึกตัว แนวปฏิบัติการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แนวปฏิบัติการประเมินภาวะกระสับกระส่าย แนวปฏิบัติการผูกมัดผู้ป่วย แนวปฏิบัติการผูกยึดท่อช่วยหายใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบบันทึกข้อมูลการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ เปรียบเทียบการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติโดยใช้สถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ ตํ่ากว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) และระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตํ่ากว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000)
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this Retrospective and Prospective before and after intervention study aimed to examine the effectiveness of evidence-based nursing protocol on unplanned extubation and duration of mechanical ventilation in critically ill patients. A purposive sample of 114 patients 57 in retrospective and 57 prospective group was selected for this study. The retrospective group received a usual care. The prospective group received the evidence-based nursing protocol comprising: Level of consciousness assessment guideline. Giving essential information regarding treatment; Agitation assessment guideline; Restrain assessment guideline; and Guideline for securing the endotracheal tube. Data were collected by using the biographic and unplanned extubation recording forms. Chi-square test was used to compare unplanned extubation rates of the 2 groups. The results of this study show that the rates of unplanned extubation of the prospective group were significantly lower than those of the retrospective group (p = .001). Duration of mechanical ventilation of the prospective group was significantly lower than that of the retrospective group (p = .000).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1904
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BANGAORN NAKRIT.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.