Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1911
Title: สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ : ศึกษากรณี ขอบเขตของการตรากฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานความรับผิดทางอาญา
Other Titles: Rights to be presumed innocent : A case study on the scope of legislation to presumed criminal liability
Authors: อิสริยาภรณ์ รักษวิณ
metadata.dc.contributor.advisor: ศิรภา จำปาทอง, มานิตย์ จุมปา
Keywords: กฎหมายอาญา -- ไทย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งค้นหาขอบเขตของการตรากฎหมายกําหนดข้อสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาว่าจะมีขอบเขตอย่างไร จึงจะไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับ การรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญโดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) การตรากฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานความรับผิดชอบโดยโจทก์ไม่ต้องต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทําหรือเจตนาอย่างหนึ่งอย่างใดของจําเลยก่อน เป็นการขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้จนกว่าจะมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําความผิด (2) การตรากฎหมายกําหนดข้อสันนิษฐานความรับผิดที่เป็น องค์ประกอบความผิดเพียงบางข้อ โดยโจทก์ยังคงมีหน้าที่พิสูจน์การกระทําที่เป็นองค์ประกอบ ความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ไม่เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไว้จนกว่าจะมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําความผิด และ (3) การตรากฎหมายกําหนดข้อสันนิษฐานความผิดที่ไม่มีความสมเหตุสมผลระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็น เงื่อนไขแห่งการสันนิษฐาน กับข้อเท็จจริงที่ได้รับการสันนิษฐาน เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักนิติธรรม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอว่า ขอบเขตการตรากฎหมายกําหนดข้อสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาที่จะทําให้ข้อสันนิษฐานความรับผิดทางอาญานั้นไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ มีอยู่ 3 ประการ สําคัญ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การตรากฎหมายโดย บัญญัติถ้อยคําในลักษณะที่เป็นข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสันนิษฐานความผิดอาญา ของจําเลยโดยโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทําหรือเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งของจําเลยก่อน ขัดหรือแย้งต่อสิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ไม่ ว่าจะเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น หรือข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ประการที่สอง การตรากฎหมายที่เป็น การกําหนดข้อสันนิษฐานข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบความผิดเพียงบางข้อ โดยโจทก์ยังคงมี หน้าที่พิสูจน์การกระทําที่เป็นองค์ประกอบความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน มิใช่การสันนิษฐาน ความผิดที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นหรือเด็ดขาด และ ประการที่สาม การตรากฎหมายที่กําหนดข้อสันนิษฐานความผิด แม้ข้อสันนิษฐานบางข้อจะมิใช่ข้อ สันนิษฐานความผิด เพราะเป็นการสันนิษฐานข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดเพียงบางข้อ จึงไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง แต่ถ้าไม่มีความสัมพันธ์อย่างสมเหตุผล (Rational Connection) ระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขแห่งการสันนิษฐาน (Basic Fact) กับข้อเท็จจริงที่ ได้รับการสันนิษฐาน (Presumed Fact) ก็อาจขัดแย้งต่อหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง
metadata.dc.description.other-abstract: This thesis aims to study the rights to be presumed innocent until proved guilty. This research documents focus on the scope of the legislation imposes criminal liability assumption, which does not conflict with the rights to presumption of innocence recognized by the Constitution, comparable with the laws of the United States. The results showed that (1) the enactment of law imposes absolute criminal responsibility to the defendant without proof of guilt is contrary to or inconsistent with the Constitution, which guarantees the right to be presumed innocent until the judgment is final as offenders (2) the enactment of law imposes the presumption of partial offensive element. The plaintiff has the duty to prove other elements of the offense committed is not contrary to or inconsistent with the Constitution, which guarantees the rights to be presumed innocent until the final judgment is guilty, and (3) the law imposes a presumption of guilt without reasonable under the facts is contrary to or inconsistent with the rule of law. So, the Researchers have proposed that the enactment of criminal liability assumption, which is not inconsistent with the rights to presumption of innocence, must be composed of three important factors. First, the plaintiff is bare a burden of proof a willful act of the defendants, whether the initial assumption or absolute presupposition, before a criminal presumption unless it will be contrary to or inconsistent with the right to the presumption of innocence guaranteed by the Constitution. Second, the plaintiff has the duty to prove all elements of the offense committed before the presumable fact. The enactment of such preliminary or final hypothesis presumption that is some of the offensive elements does not conflict with the Constitution. And third, enactment of specific assumed fact as a fault assumption, not presumed guilty, only some elements of the offense, does not conflict with the Constitution, Article 39, paragraph two, but if the Rational Connection between Basic Fact (the fact that the conditions of the assumption) and Presumed Fact (the facts that have been assumed) is unreasonable, it may conflict with the rule of law according to the Constitution Article 3 paragraph two.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1911
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AITSARIYAPORN RUKSAWIN.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.