Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1917
Title: ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาลระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: School based management problems in private and public primary schools in Mueang district, Pathumthani
Authors: วันวิสาข์ โคตรชมภู
metadata.dc.contributor.advisor: ทิพวรรณ จันทรสถิตย์
Keywords: การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและเปรียบเทียบระดับปัญหาการ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูของโรงเรียนเอกชนและ โรงเรียนรัฐบาลระดับประถมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร โรงเรียน และครู ของโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาล ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2556 376 คน 32 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ ค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̅ ) และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) การวิเคราะห์ค่า F-test ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในภาพรวมมีระดับปัญหาอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล( x̅ = 3.87) ด้านการบริหารตนเอง ( x̅ = 3.81) ด้านการกระจายอำนาจ ( x̅ = 3.74) และด้านการมีส่วนร่วม ( x̅ = 3.64) 2) เปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาล ระดับประถม ศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ในภาพรวม รายด้านและรายข้อเมื่อจำแนกตามเพศ โรงเรียนที่สังกัด และ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research were to study and to compare the level of school based management problems in the opinion of private and public primary schools administrators and teachers in Mueang District, Pathumtani. The samples were 376 administrators and teachers in 32 schools, academics year 2013. The research instrument was a rating scale questionnaire. The statistics used formalizing the data were percentage, mean, standard deviation, Z-test, and F-test. The results were found that: 1) The level of school based management problems was not at high level in overall. Considering one each aspect was at high level, which were the principle of check and balance ( x̅ =3.87), the principle of self-management ( x̅ =3.81), the principle of decentralization ( x̅ =3.74), and the principle of participation ( x̅ =3.64) 2) To compare the level of school based management problems in the opinion of administrators and teachers according to genders, schools, and working status were not different, in overall, in each aspect and in each items.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การบริหารการศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1917
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-EA-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WANWISA KOTCHOMPOO.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.