Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1920
Title: | การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบัวแก้วเกษร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยใช้แนวคิด Balanced Scorecard |
Other Titles: | The evaluation of Buakaewkesorn School curriculum under the office of the secondary educational service area zone 4 by using balanced scorecard approach |
Authors: | ประภาสิริ คล้ายคลึง |
metadata.dc.contributor.advisor: | ศรีสมร พุ่มสะอาด |
Keywords: | การประเมินหลักสูตร -- ไทย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบัวแก้วเกษรโดยใช้แนวคิด BALANCED SCORECARD (BSC) ใน 4 ด้าน คือ ด้านนักเรียน ด้านกระบวนการ พัฒนาหลักสูตร ด้านพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณและทรัพยากร 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน บัวแก้วเกษร กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ใช้ กลุ่มประชากร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหาร 3 คน ครูผู้สอน 43 คน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน15 คน 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 254 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มโฟกัสกรุ๊ป (Focus Group Discussion) ของผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้และทักษะที่จาเป็นตามหลักสูตร คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การบริหารหลักสูตรหรือการนาหลักสูตรไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนทั้ง 8 กลุ่มสาระ และการวัดและประเมินผลนักเรียนระดับห้องเรียน ปฏิบัติอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ทุกเรื่อง 3) ผลการประเมินด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถด้านการบริหารหลักสูตร ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติรวม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 4) ผลการประเมินด้านงบประมาณและทรัพยากร พบว่า ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหลักสูตร และ ความคุ้มค่าในการจัดการศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด 5) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด 6) ผลการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มโฟกัสกรุ๊ป พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้ของครูต้องมีสื่อการสอนที่หลากหลาย จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this research were: 1) to evaluate Buakaewkesorn School curriculum by using Balanced Scorecard (BSC) Approach focusing on four aspects namely, Students, Curriculum Development Process, Personnel Development, and Budget and Resources, 2) to study stakeholders satisfaction towards Buakaewkesorn School curriculum and its implementation. The samples of this study were1) 3 administrators, 43 teachers, and 15 Basic Educational Committee members, 2) 254 secondary education and high school education students, and 3) 254 parents of grades 7-12 students. The research instrument included questionnaire, interview, focus group discussion. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation. The results were found as follows. 1) The evaluative results of Students found that students had learning outcomes and essential skills, virtue, ethics and desirable values at the highest level. 2) The evaluative results of Curriculum Development Process found that school curriculum preparation, curriculum management or implementation, learning management process of teachers in 8 subject groups, and measurement and evaluation of students in the classroom performed at high and highest levels. 3) The evaluative results of Personnel Development found that school administrators’ curriculum management performance, teachers’ learning management performance, and school administrators and teachers’ satisfaction towards overall performance were at high and highest levels. 4) The evaluative results of Budget and Resources found that curriculum development cost and the value of education management were at high and highest levels. 5) The results of satisfaction towards school curriculum found that school administrators, teachers, and Basic Educational Committee members were satisfied with students’ learning outcomes and teachers’ learning management at high and highest levels. 6) The results of interview and focus group discussion found that school administrators, teachers, Basic Educational Committee members, parents and students agreed that teachers’ learning management should provide a variety of instructing materials, enhancing students’ understandings of the lessons. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1920 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-CI-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAPASIRI KLAYKLUNG.pdf | 7.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.