Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1929
Title: | การปรับปรุงมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย : กรณีศึกษา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการแผ่นดิน |
Other Titles: | Improvement of measures for prevention and suppression of corruption in Thailand : case study of national anti-corruption commission, election commission and ombudsman |
Authors: | ชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | รัตพงษ์ สอนสุภาพ |
Keywords: | การทุจริต -- ไทย -- การป้องกัน;คณะกรรมการการเลือกตั้ง -- วิจัย;ผู้ตรวจการแผ่นดิน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ดุษฎีนิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการในการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการทุจริตให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินการด้านการปราบปรามของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่มีการกระจายอำนาจการไต่สวนวินิจฉัยคดีตามที่กฎหมายเปิดช่องให้ดำเนินการและยังไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของคดีจึงมีผลทำให้การไต่สวนวินิจฉัยคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีความล่าช้า มีคดีขาดอายุความ ผู้กระทำผิดที่เป็นนักการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสสูงที่จะไม่ถูกลงโทษ ส่งผลให้สังคมขาดความเชื่อมั่นต่อการปราบปราม ลงโทษผู้กระทำผิด การจัดทำมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังขาดรูปธรรมและกลไกการบังคับใช้ ทำให้ไม่สามารถสร้างรากฐานด้านจริยธรรม คุณธรรม และการป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ของทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ การที่การทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งได้พัฒนาเปลี่ยนไปเป็นระบบซื้อทั้งปี ระบบพรรคการเมืองถูกครอบงำโดยนายทุนหรือระบบทุน รวมทั้งคนในสังคมก็ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงต้องปรับปรุงแนวทางการดำเนินการใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทสังคมที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this doctoral dissertation is to purpose about how to improve working methologies of National Anti-Corruption Commission (NACC) Election Commission (EC) and Ombudsman in order to get better result in prevention and suppression of corruption in Thailand. The result of the research shown that NACC have not allocated their power of inquiry and decision of cases to other agencies as allow by law and have not prioritized the importance of cases so creating the delay in the inquiry and decision of cases, prescription problems, the person holding a political position or a high ranking position have highly opportunity to avoid punishment and minimization of social trust in corruption suppression. The ethical standards of person holding political position and state officials are intangibles and do not have mechanisms and operability in building the ethical standards and protection of conflict of interest. Hence it is the duty of NACC and Ombudsman to speedy solving the problems. The corruption in the election procedures have been changed to corrupt throughout the year. Political parties have been dominated by capitalism and people in the society are not really understand the real meaning of democracy system. So the EC need to improve their working methologies in accordance with existing problem and social context. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1929 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHUNGTONG OPASSIRIWIT.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.