Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1934
Title: การศึกษาความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐของไทย
Other Titles: A study of human resource practitioner's professionalism in Thai state higher education institutions
Authors: ณ ฤดี ฐิติธราดล
metadata.dc.contributor.advisor: จุมพล หนิมพานิช, ปกรณ์ ประจันบาน
ภัทรียา สุมะโน
Keywords: การบริหารทรัพยากรมนุษย์;การจัดการภาครัฐ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ใน สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐของไทย (2) ศึกษาตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรสมรรถนะ และตัวแปรบทบาท ของนักทรัพยากรมนุษย์ ตัวแปรภาวะผู้นําของผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิติคุณลักษณะที่ทํา ให้เกิดความน่าเชื่อถือ และตัวแปรภาวะผู้นําของผู้บริหารด้านทรั กรมนุษย์ในมิติความสามารถ ในการบริหารองค์การ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรสมรรถนะและตัวแปรบทบาทของนัก ทรัพยากรมนุษย์ ตัวแปรภาวะผู้นําของของผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิติคุณลัหษณะที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและตัวแปรภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิตความสาสารถในการ บริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐของไทยและ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จํานวน 485 คน ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ศึกษามี 5 ตัวแปร คือ ความเป็นมืออาชีพ สมรรถนะ บทบาท ภาวะผู้นําในมิติคุณลักษณะที่ทําให้เกิดความน่าเชื่อถือ เชอถอ และ ภาวะผู้นําในมิติความสามารถในการบริหารองค์การ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษา ภาครัฐของไทย มีจํานวน 6 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช (Cronbach's coefficient of alpha) และวิเคราะห์ อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL 8.30 ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะและบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ส่วนภาวะผู้นําของผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิติความสามารถในการบริหารองค์การ และภาวะผู้นําของผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิติ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ความสามารถในการบริหารองค์การ คุณลักษณะที่ทําให้เกิดความน่าเชื่อถือและ (2) ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุความเป็นมืออาชีพของนักทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐของไทยมีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 =131.68, p-value > 0.05, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.005)
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research were (1) to study human resource practitioner's professionalism in Thai state higher education institutions; (2) to study the following variables: competency of human resource practitioner, role of human resource practitioners, personal credibility dimension of the human resource administrator's leadership, and organizational administration capability dimension of the human resource administrator's leadership; (3) to study the relationships of competency of human resource practitioner variable, role of human resource practitioner variable, personal credibility dimension of the human resource practitioner’s leadership variable, and organizational administration capability dimension of the human resource administrator's leadership variable influencing the variable of human resource practitioner's professionalism in Thai state higher education institutions; and (4) to propose recommendations on guidelines for development of human resource practitioner's professionalism in Thai state higher education institutions. The research sample consisted of 485 staff members of five Thai state higher education institutions: Chulalongkorn University, Mahidol University, Thammasat University, Kasetsart University and Sukhothai Thammathirat Open University. The studied variables consisted of five causal factors: professionalism, competency, role, personal credibility dimension of the administrator's leadership, and organizational administration capability dimension of the administrator's leadership. The employed research instrument was a six-part questionnaire on causal factors influencing professionalism of human resource practitioners in Thai state higher education institutions. Research data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, Cronbach's alpha coefficient, and path analysis as analyzed with LISREL software, version 8.30. The research findings indicated that (1) human resource practitioner's competencies and roles had direct influence on the human resource practitioner's professionalism, while organizational administration capability dimension of the human resource administrator's leadership and personal credibility dimension of the human resource administrator's leadership had indirect influence on the human resource practitioner's professionalism; and (2) the developed causal structure relationship model influencing human resource practitioner's professionalism in Thai state higher education institutions was in accord with the empirical data (x=131.68, p-value> 0.05, GFI = 0.98, AGFI = 0.95, RMSEA = 0.005).
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1934
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NARUDEE TITITARADOL.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.