Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1993
Title: ฤทธิ์ทางชีวภาพและปกป้องตับของสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากดอกเห็ดแครง (schizophyllum commune)
Other Titles: BIological and hepatoprotective activities of polysaccharide extract from fruiting body of schizophyllum commune
Authors: ปรายุมาศ อ้นศรีสวัสดิ์
metadata.dc.contributor.advisor: หทัยรัตน์ อุไรรงค์
จันทนา ยะหัวฝาย
Keywords: เห็ดแครง -- ฤทธิ์ทางชีวภาพ;พอลิแซ็กคาไรด์;ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: เห็ดแครง (Schizophyllum commune) เป็นเห็ดที่รับประทานได้ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น ต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านมะเร็ง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ตับของสารสกัดดอกเห็ดแครง นำผงดอกเห็ดแครงแห้งมาสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 4 ชนิด (เฮกเซน คลอโรฟอร์ม เอทิลอะซิเตด และเมทานอล) และสกัดโดยการต้มน้ำ ตกตะกอนด้วยเอทานอล เพื่อให้สารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์ แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอช สารสกัดแต่ละตัวหาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ด้วยวิธีโฟลิน ซิโอแคลทูและวิธีอะลูมิเนียมคลอไรด์ คัลเลอริเมทริกตามลำดับ ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งตับของคน (HepG2) ด้วยวิธีเอ็มทีที ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดเห็ดแครงในการปกป้องการทำลายเซลล์ตับที่ถูกเหนี่ยวนาให้เกิดความเสียหายด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อเซลล์มะเร็งตับของคน ประเมินผลการปกป้องและลักษณะของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเทคนิคการย้อมด้วย Hoechst 33342 ศึกษากลไกการปกป้องเซลล์ HepG2 ของสารสกัดเห็ดแครง ผลของการเกิดปฏิกิริยาลิพิดเปอร์ออกซิเดชันและระดับของกลูตาไธโอนที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นการศึกษากลไกในการปกป้องเซลล์ HepG2 ด้วยสารสกัดจากดอกเห็ดแครง สารสกัดทั้ง 5 ตัวอย่างแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ค่า IC50 อยู่ในช่วง 0.32- 1.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ในช่วง 11.98-25.93 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ในช่วง 2.34-4.53 มิลลิกรัมสมมูลของเคอร์ซิตินต่อกรัมสารสกัด การทดสอบเซลล์มะเร็งตับด้วยสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่า ทำให้อัตราการรอดชีวิตเซลล์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ยังยับยั้งปฏิกิริยาลิพิดเปอร์ออกซิเดชัน และเพิ่มระดับของกลูตาโธโอนต้านการถูกทำลายด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผลงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรก ที่ยังไม่เคยมีรายงานการวิจัยมาก่อน ในการพบว่าสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากดอกเห็ดแครง มีฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์มะเร็งตับและอาจจะพัฒนาเป็นยารักษาที่ใช้ในการรักษาโรคตับ
metadata.dc.description.other-abstract: Split gill mushroom (Schizophyllum commune) is an edible mushroom with pharmacological effects such as anti-inflammatory, anti-microbial, immunostimulatory, and anti-cancer. This study investigated hepatoprotective properties from the fruiting body extracts of S. commune. The dried powder of the fruiting body was extracted with four different solvents (hexane, chloroform, ethyl acetate and methanol) and boiled with water, followed by ethanol precipitation to obtain crude polysaccharide. Five extracts were evaluated for their scavenging ability determined by the stable radical DPPH. Total phenolic and flavonoid content of each extract were determined using the Folin-Ciocalteu method and aluminum chloride colorimetric assay, respectively. The cytotoxicity was determined in human hepatoma cells (HepG2) using an MTT assay. The hepatoprotective effect of S. commune extracts was evaluated using the hydrogen peroxide (H2O2)-induced toxicity on HepG2 cells. To assess the protective effect and morphological changes, the Hoechst 33342 staining assay was used. Lipid peroxidation and glutathione levels induced by H2O2 were studied to determine possible mechanisms of hepatoprotection by S. commune extracts. The five extracts showed DPPH free radical scavenging activities with IC50 values between 0.32-1.00 mg/mL. Total phenolic content was between 11.98-25.93 mg GAE/g extract. Total flavonoid contents were between 2.34-4.53 QAE mg GAE/g extract. The treated HepG2 cells with polysaccharide extract before H2O2 exposure increased cell viability, while polysaccharide extract inhibited lipid peroxidation and increased glutathione levels against H2O2-induced cell damage. These results were the first report to reveal that the polysaccharide extract from the fruiting body of S. commune had hepatoprotective potential and could be developed as a potential therapeutic agent for liver diseases
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1993
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:BiT-Bio-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PRAYUMAT ONSRISAWAT.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.