Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2002
Title: | การใช้มอร์ต้าร์แข็งตัวเร็วเป็นพื้นปรับระดับสำหรับงานเคลือบผิวโพลียูรีเทน |
Other Titles: | The use of rapid setting mortar as floor leveling in polyurethane coating |
Authors: | ศิวกร ดีช่วย |
metadata.dc.contributor.advisor: | วินัย อวยพรประเสริฐ |
Keywords: | มอร์ต้าร์ -- สารผสม -- วิจัย;โพลิยูริเทน;สารเคลือบผิว |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบส่วนผสมมอร์ต้าร์ใช้งานเร่งด่วน สำหรับเป็นพื้นปรับระดับในงานเคลือบผิวโพลียูรีเทน มอร์ต้าร์เร่งด่วนจำเป็นต้องมีสารลดน้ำอย่างมาก และสารเร่งการก่อตัว เพื่อให้ได้อัตราการไหลแผ่ 130±5% รวมถึงกาลังอัดที่อายุ 8 และ 24 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 200 และ 400 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ เมื่อกำหนดให้โอกาสที่มอร์ต้าร์จะผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 95% ค่าเฉลี่ยกำลังอัดเป้าหมายของมอร์ต้าร์ควรมีค่าไม่น้อยกว่า 217 และ 435 กก./ตร.ซม. ตามลาดับ จากนั้นออกแบบส่วนผสมมอร์ต้าร์ตามวิธีของ ACI และหล่อมอร์ต้าร์เพื่อทาการทดสอบกาลังอัดโดยการหล่อ ณ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน คือ 29-32 ºC, 32-34 ºC และมากกว่า 34 ºC จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปฏิภาคส่วนผสมของมอร์ต้าร์ที่เหมาะสม คือ อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ 0.35 ปริมาณน้ำ 205.8 กก./ลบ.ม. สารลดน้ำอย่างมาก 1.2% และสารเร่งการก่อตัว 0.28% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ จะได้กำลังอัด 217 กก./ตร.ซม. ใน 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 29-32ºC และที่อายุ 24 ชั่วโมง กำลังอัดจะสูงกว่า 435 กก./ตร.ซม. ทุกช่วงอุณหภูมิ โดยไม่ต้องเติมสารเร่งการก่อตัว ส่วนกำลังดึงของมอร์ต้าร์เร่งด่วนจะน้อยกว่าวัสดุผสมโพลียูรีเทน แต่เมื่อทดสอบการใช้งานมอร์ต้าร์ปรับระดับพื้นเคลือบผิวด้วยโพลียูรีเทน ไม่พบรอยแตกหรือการหลุดกะเทาะของพื้นผิว ดังนั้น มอร์ต้าร์เร่งด่วนจึงอาจใช้เป็นพื้นปรับระดับทดแทนวัสดุผสมโพลียูรีเทนสำหรับงานเคลือบผิวโพลียูรีเทนได้ โดยมีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ากว่ามาก |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research was to determine mortar mix design for the urgent use as a leveling layer in polyurethane floor coating. Rapid setting mortar required superplasticizer and accelerator to satisfy with the flow rate of mortar within 130±5 percent and compressive strength of mortar not less than 200 and 400 ksc at 8 hours and 24 hours, respectively. For at least 95% probability of passing the required compressive strength, target means should be 217 ksc and 435 ksc, respectively. Then mortar mix proportions were designed according to the ACI method. Then mortar mix proportions obtained were examined with the flow table test and the compression test. The mortars were cast within a range of atmospheric temperatures, 29-32°C, 32-34°C and more than 34°C. Results from the study showed that the optimum mortar proportion was water to cement ratio of 0.35, water content of 205.8 kg/m3, superplasticizer 1.2% by weight of cement, and the accelerator 0.28% by weight of cement. For the casting temperature 29°C-32 °C, without adding accelerator, the mean values of the compressive strength of mortars at the age of 8 hours and 24 hours were 217 ksc and greater than 435 ksc, respectively. Although the tensile strength of the rapid setting mortar was less than polyurethane, in the application of the rapid setting mortar as floor leveling layer together with the polyurethane coating, no crack or peeling at the surface was found. Thus, rapid setting mortar might be used as floor leveling in place of the polyurethane composite at the much lower cost of construction |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ. ม. (วิศวกรรมโยธา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2002 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng-CE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SIVAGORN DEECHUAY.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.