Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2021
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การจัดการความคิดสร้างสรรค์ขององค์การที่มีผลต่อรูปแบบนวัตกรรมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Organizational creativity management affecting the innovative model in the real estate business |
Authors: | เฉลิมพร เย็นเยือก |
Keywords: | ความคิดสร้างสรรค์;ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์;นวัตกรรมทางธุรกิจ;การสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | รายงานวิจัยเรื่อง การจัดการความคิดสร้างสรรค์ขององค์การที่มีผลต่อรูปแบบนวัตกรรม ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาให้ทราบตามวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาผลการดําเนินงานด้านนวัตกรรม 2) เพื่อ ศึกษา ประสิทธิภาพ ทรัพยากร และ การสนับสนุนการดําเนินงานด้านนวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษา รูปแบบการพัฒนาการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและบริบทของประเทศไทยโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 400 ชุด และแบบสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลที่เป็น ผู้บริหารในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จํานวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจํานวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับ ผลสําเร็จในการดําเนินงานด้านนวัตกรรม และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิธีการสร้างบทสรุปจาก ประเด็นย่อยแล้วนํามาเชื่อมโยงตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ระดับ การศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ระหว่าง 20,000-30,000 บาทต่อเดือน ปฏิบัติงานอยู่ในฝ่ายก่อสร้าง มี ระยะเวลาปฏิบัติงานระหว่าง 4-6 ปี และให้ความสําคัญเกี่ยวกับการจัดการความคิดสร้างสรรค์ในด้านคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลากรอยู่ในระดับมากที่สุดผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ การศึกษา และรายได้ ที่ต่างกันมีความสําเร็จในการดําเนินงานด้าน นวัตกรรมต่างกัน และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร ด้านลักษณะงานที่สนับสนุนความคิด สร้างสรรค์ ด้านการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้บริหารและองค์การ พบว่า มีความสัมพันธ์ กับความสําเร็จในการดําเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์การ ส่วนรูปแบบการดําเนินงานด้าน นวัตกรรมที่เหมาะสมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย คือ 1) ต้องทําความเข้าใจในบริบท สภาพปัจจุบันในอุตสาหกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน เพื่อนํามาสู่การวางแผนกําหนด แนวทางการดําเนินงานด้านนวัตกรรมให้กับองค์การอย่างเหมาะสม 2) ต้องส่งเสริมสนับสนุน ทักษะความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรผ่านกิจกรรมต่างๆ ผ่านการสนับสนุนจากผู้บริหารและ มีการกําหนดนโยบายส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นทุกระดับในองค์การอย่างแท้จริง |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aims to 1) investigate the outcomes of the innovation operation, 2) examine the productivity, resources, and promotion of the innovation operation, and 3) study the creation of innovation for the real estate business which suits the Thai context well. This study employed the mixed methods. The data used in the analysis were gathered in two ways, i.e., the distribution of questionnaires to 400 personnel working in the real estate business and the interviews with four key informants. The statistics used in the analysis included percentage, average, and standard deviation. The statistical inference was employed to examine the differences between the individual factors and the success in the innovation operation. In addition, the multiple linear regression was done to test the hypothesis, having the statistical significance level at 0.05. The results showed that most of the questionnaire respondents were males, aged 25 - 35 years. They had a bachelor's degree and an average monthly income of 20,000 30,000 Bath. They had worked in the building department for 4 - 6 years and paid attention to the importance of the innovation management in terms of the individual creativity and innovation in the highest level. Furthermore, the hypothesis testing revealed that the differences in the individual factors including gender, education background, and income would lead to the differences in the success of the innovation operation. In addition, the analysis of the relationship among four factors, including the personnel's creativity, tasks that promote creativity, and the executives' roles inpromoting creativity, showed that they all were related to the success in the innovation operation of the organization. In order to create the innovation that suited the Thai context well, the study suggested that ones should truly understand the present situations and trends in the real estate business in order to be able to propose an appropriate plan for the innovation operation for the organization. In addition, the organization should implement the policy that would promote creativity in all levels of personnel through various activities. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2021 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | BA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHALERMPORN YENYUAK.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.