Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2026
Title: การพัฒนากรอบการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของกองบัญชาการกองทัพไทย
Other Titles: Development of the appropriate information technology management and governance framework, The Royal Thai Armed Forces Headquarters
Authors: สุนทรี จำเริญ
metadata.dc.contributor.advisor: วศิณ ชูประยูร
Keywords: กองบัญชาการกองทัพไทย;เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การจัดการ;นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาในการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศของกองบัญชาการกองทัพไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาในการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของกองบัญชาการกองทัพไทยกับกรอบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐาน COBIT 2019 และ 3) พัฒนากรอบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของกองบัญชาการกองทัพไทย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้กรอบมาตรฐาน COBIT 2019 เป็นทฤษฎีหลักในการออกแบบการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกําลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย จํานวน 350 คน (ได้รับ แบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 100) และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของกองบัญชาการกองทัพไทย สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ 1) สถิติพรรณนา (การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และ 2) สถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบเพื่อจําแนกความคิดเห็นต่างและความคิดเห็นเหมือนในแต่ละประเด็น ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบ เกี่ยวกับการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาก คือปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ ในกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การประกาศใช้หลักจริยธรรมด้านไอที กําลังพลขาดความสนใจใน การศึกษาพัฒนาตนเองให้เท่าทันกับความทันสมัยล่าสุดของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ระบบสัญญาณไม่เสถียร และความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามแนวทางในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศอย่างเข้มงวดจริงจัง ในด้านความต้องการมาตรฐานการกํากับดูแลและการบริหาร จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการด้านการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม การจัดวางแนว การจัดทําแผน การจัดทําระบบ การส่งมอบ การบริการ และการสนับสนุน การสร้าง การจัดหา การนําไปใช้ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า สภาพปัญหาในการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อกรอบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐาน COBIT 2019 ของกองบัญชาการกองทัพไทย มีขนาดอิทธิพล (R2) อยู่ระหว่าง .025-231 ทําให้ได้สมการอิทธิพลจํานวน 80 สมการ สมการที่มีขนาดอิทธิพลสูงสุดคือ สมการว่าด้วยตัวแปร การประกาศใช้หลักจริยธรรมด้านไอที (Code of IT Ethics), การมีค่าใช้จ่ายด้านไอทีไม่สอดคล้องกับกระบวนการทํางานของหน่วยงาน, การแก้ไขข้อร้องเรียนจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศล่าช้า และการเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายในองค์กรมีเสถียรภาพน้อย ที่มี อิทธิพลทําให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านส่งมอบ บริการ และสนับสนุน ในกระบวนการบริหาร จัดการบริการความมั่นคงปลอดภัย เพิ่มขึ้นและลดลง ณ ขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .231
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research were to 1) examine the Royal Thai Armed Forces Headquarters' information technology governance and management issues, 2) examine the relationship between the issues and the COBIT 2019 standard framework, and 3) develop an appropriate framework for governing and managing information technology in headquarters contexts. Both quantitative and qualitative methodologies were used in the study design, with the COBIT 2019 framework serving as the primary notation. Questionnaires were utilized to collect empirical data from 350 respondents working at the armed forces headquarters (100 percent response rate); in addition, interviews were conducted with many top military officials. The data analysis used the following statistics: 1) descriptive statistics (frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation) and 2) inferential statistics (multiple linear regression). Comparative analysis was used to assess the qualitative data in order to identify between divergent and comparable viewpoints on each subject. The findings indicated that high levels of information technology governance and management problems were caused by 1) knowledge and understanding of information technology laws, 2) the code of information technology ethic declaration, 3) lacks the interest of the officers of the armed forces in further education and self-improvement to keep up with the latest modernization of information technology, and 4) unstable network connections and unserious operating collaborations by information security. It also pointed out that the standard framework of the information technology governance and management were in high demand. It included the needs of assessment, commanding and monitoring, alignment, planning, system preparation, delivery, services and supports, creation, procurement, and implementation. Regarding the hypothesis testing, it found that the governance and management problems influenced the COBIT 2019 framework applying in the armed forces headquarters (R2 was between .025 - .231, which generated 80 influence equations). The highest influence equation described the following factors: the code of IT ethics declaration, inconsistency of IT expenses with the organizational processes, delayed resolution of IT complaints, and network connection instability caused the management of information technology in terms of delivery, services, and support in the security service management process to increase and decrease at effect size (R2) .231
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2026
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-ITM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LEUTENANT SOONTAREE CHAMROEN.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.