Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2060
Title: | กฎหมายการให้อำนาจในการสอบสวนผู้ต้องหาในคดียาเสพติดของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด |
Other Titles: | The law giving the power to investigate the accused in the drug case of narcotics prevention and suppression officers |
Authors: | กิตติคุณ จิรกิตติกุล |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธานี วรภัทร์ |
Keywords: | ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม;ยาเสพติด -- คดีและการสู้คดี;ผู้ต้องหา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจในการสอบสวนผู้ต้องหาในคดี ยาเสพติดของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยศึกษาจากกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องเดียวกัน จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนั้น พบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ 1 ฉบับ คือพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2564 ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แต่กฎหมายดังกล่าวก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ กล่าวคือ หน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วต้องส่งสำนวนการสอบสวนนั้นให้แก่พนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนอีกครั้ง และส่งสำนวนต่อไปถึงพนักงานอัยการเพื่อทำการตรวจสอบว่าเห็นควรสั่งฟ้องต่อไปหรือไม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้นถือเป็นการปฏิบัติงานที่ล่าช้าและซํ้าซ้อนกัน และทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2564 ในเรื่องหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อให้การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดได้รับโทษเร็วยิ่งขึ้น ถือเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนคดียาเสพติด และจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดียาเสพติด และเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไม่ซํ้าซ้อนกันและทำให้กฎหมายของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
metadata.dc.description.other-abstract: | The research aims to study the issue of law enforcement of the narcotics control officials to alleged offenders by studying from foreign law such as the U.S. and Singapore and comparing with the law in Thailand on the same issue. According to a study of the related laws of Thailand, it was found that the Act on Procedure of Narcotic Case B.E. 2564 is the law empowering the officials. Nonetheless, there are also deficiencies. When conducting investigation, a case file is sent to investigators, and then to prosecutors to determine whether a prosecution order is issued or not. The mentioned process is redundant to send a culprit to the justiciary procedure. The researcher proposed an amendment of the Procedure of Narcotic Case B.E. 2564 regarding the duty of an investigation on suspects or defendants in drug-related cases of Narcotics Officials. The researcher proposed that there should be a prosecution against an accused or a defendant in drug-related cases to be punished faster to ease the burden of investigators in the investigation of drug cases. Moreover, the performance on duty of officials investigating drug cases, and the Narcotics Prevention and Suppression officials is not duplicated, and it could make the Thai law more effective. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2060 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law-Law-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KITTIKUN JIRAKITTIKUL.pdf | 724.06 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.