Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2061
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย |
Other Titles: | Legal problems related to free education |
Authors: | สัญชัย นิระมล |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธานี วรภัทร์ |
Keywords: | การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทย;กฎหมาย -- ไทย;กฎหมายการศึกษา -- ไทย |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนและสร้างชาติให้เจริญ ประเทศไทยได้จัด การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติที่ 28/2559 โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายครอบคลุมการศึกษาพื้นฐานทั้งระบบแล้วนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า ระยะเวลาการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีตามมาตรา 17 ไม่สอดคล้องกับบริบท ทางสังคมของประเทศไทยและระยะเวลาการศึกษาภาคบังคับโดยเฉลี่ยในระดับสากล เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศยังพบอีกว่า กฎหมายการศึกษาของประเทศไทยจัดสวัสดิการ ทางการศึกษาไม่เพียงพอต่อความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน ได้แก่ ด้านการเรียน การสอน ไม่ครอบคลุมไปถึงการเรียนการสอนนอกหลักสูตรการศึกษา, ด้านทรัพยากรทาง การศึกษา มิได้กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนให้แก่นักเรียน และด้าน สิทธิประโยชน์ มิได้สนับสนุนค่าเครื่องแบบในพิธีสำเร็จการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติที่เปิดช่องให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อนา มาใช้ในการจัด การศึกษาตามมาตรา 58 อนุมาตรา 2 แต่มิได้มีบทบัญญัติที่กำหนดสิทธิหรือสร้างความคุ้มครอง ให้แก่ผู้เรียนหรือผู้ปกครอง จากการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 โดย เพิ่มระยะเวลาการศึกษาภาคบังคับในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และปรับปรุงการจัดสวัสดิการ ทางการศึกษาให้ครอบคลุมการเรียนการสอนนอกหลักสูตรการศึกษา การจัดหาอุปกรณ์การเรียน และเครื่องแบบในพิธีสำเร็จการศึกษาหากกำหนดให้ใส่ และการลดราคาค่าโดยสารสาธารณะแก่ นักเรียน ตลอดจนถึงกำหนดให้มีสิทธิปฏิเสธการบริจาคเงินโดยไม่สมัครใจและห้ามมิให้เรียกเก็บ ค่าใช้จ่ายจากการจัดการศึกษาโดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ |
metadata.dc.description.other-abstract: | Education is a crucial instrument for developing individuals and constructing a thriving society. Thailand has given education in accordance with the National Education Act of 1999, the Order of the Head of the National Council for Peace, and Order No. 28/2559, without incurring costs for the complete system of basic education. According to the findings of the research, the 9- year period of compulsory education under Article 17 is incongruous with Thailand's socioeconomic environment and the worldwide average length of compulsory education. It was also discovered that the education law of Thailand, compared to others. provides insufficient educational welfare to meet the needs and necessities of learners, as teaching and learning does not cover teaching and learning outside the curriculum; educational resources do not require educational institutions to provide students with learning materials; and in terms of benefits, it does not cover the cost of graduation ceremony uniforms. Based on this research, the researcher recommends amending and adding to the National Education Act B.E. at the upper secondary level and improving educational welfare to cover teaching and learning outside the curriculum, provision of school supplies and uniforms at the graduation ceremony if required, and discounted public fares for students, as well as having the right to refuse involuntary donations and prohibiting collecting expenses from education management without prior approval |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2061 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law-Law-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SANCHAI NIRAMOL.pdf | 723.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.