Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2062
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม
Other Titles: Legal issues of pedestrian safety on pedestrian crossings
Authors: เบญญา สุภเดช
metadata.dc.contributor.advisor: ธานี วรภัทร์
Keywords: ความปลอดภัยในท้องถนน;พื้นที่คนเดินเท้า;ทางเท้า;จราจร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: บทความฉบับนีMมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม ทั้งมาตรการลงโทษ มาตรการเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย รวมถึง วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายจราจรของประเทศไทยและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว เพื่อนำผลที่ได้ จากการศึกษาไปเสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็ นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก เอกสารตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัยต่าง ๆ บทความ ตัวบทกฎหมาย รวมถึงการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จากการศึกษา พบว่า ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าในการใช้ทางข้าม ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายอยู่จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้ 1) แก้ไขคำนิยามของ “ทางข้าม” ให้ครอบคลุม ถึงบริเวณ “ทางแยก” ด้วย เพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักอยู่เสมอว่าบริเวณทางแยกเป็นทางข้ามสำหรับ คนเดินเท้าใช้ข้ามถนน และผู้ขับขี่มีหน้าที่ต้องหยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามถนนไปก่อน 2) บัญญัติหน้าที่ ของผู้ขับขี่ให้ชัดเจนว่าจะต้อง “หยุด” รถให้คนเดินเท้าที่กำลังข้ามถนนด้วยทางข้ามก่อนเสมอ 3) บัญญัติโทษกรณีผู้ขับขี่ไม่หยุดรถให้คนเดินเท้าใช้ทางข้ามและกระทำความผิดซ้ำ 4) บัญญัติโทษ ให้หนักขึ้นตามความร้ายแรงของการเกิดอุบัติเหตุ กรณีคนเดินเท้าได้รับอันตรายต่อกายและจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย 5) บัญญัติกฎหมายให้นำมาตรการเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น แผงกั้นทางข้าม เสียงสัญญาณข้ามถนน ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาที่พาดผ่านทางข้าม และสัญญาณไฟจราจรแบบปุ่มกด เป็นต้น
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this article is to study concepts, theories, and laws related to pedestrian safety in using pedestrian crossings by studying both punishment measures, and additional safety measures. There is also Including a comparative analysis of traffic laws in Thailand and other countries to bring the results of the study to propose guidelines for improving the law to suit the current social situation. This study was qualitative research by searching textbooks, theses, research reports, articles, legal, and Internet searches. The result of this study reveals that there are legal gaps in legal issues concerning pedestrian safety in the use of pedestrian crossings according to Land Traffic Act. Therefore, the problems must be resolved to make law enforcement more efficient by 1) Amended the definition of “crosswalk” to include “intersections” as well, so the drivers will always be aware that intersections are pedestrian crossings for people to cross the road, and the driver must stop to allow pedestrians to cross the road first. 2) Prescribe the driver must “stop” for pedestrians crossing the road at the crosswalk. 3) Prescribe the penalties for drivers who do not stop their vehicles for pedestrian crossing and recidivism. 4) Impose heavier penalties according to the severity of the accident. In case of a pedestrian suffering physical and mental harm, severe harm, or death. 5) Legislation to apply additional measures for the safety of foreign countries such as crosswalk barriers, sound signals for crossing the road, walkways for the visually impaired that cross over crosswalks, push-button traffic lights, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2062
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BENYA SUPADECH.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.