Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2070
Title: | การยอมรับการใช้งานเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | An adoption of digital currency of Bank of Thailand |
Authors: | วรพร วรรณสว่าง |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช |
Keywords: | ธนาคารแห่งประเทศไทย -- นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ;เงินดิจิทัล;สกุลเงินดิจิทัล;ระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการยอมรับการใช้งานเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และ การถือสกุลเงินดิจิทัล ในภาคประชาชนในช่วงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และศึกษาช่องทางการรับรู้ข้อมูลสกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้งานสกุลดิจิทัล ของธนาคารแห่งประเทศไทย การศึกษานี้ใช้วิธีการสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) จากกลุ่มประชากรในประเทศไทย และได้นำไปวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยโลจิสติคแบบไบนารี (Binary Logistic Regression Analysis Model) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามทางออนไลน์จำนวน 511 คน ผลการวิจัยพบว่า มีร้อยละ 80.2 ของการยอมรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และร้อยละ 19.8 ของการไม่ยอมรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดย มีตัวแปรอิสระที่มีนัยสำคัญต่อการอธิบายตัวแปรตาม คือ แพลตฟอร์มผู้ให้บริการ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์พร้อมเพย์ การถือสกุลเงินดิจิทัล การรับรู้ข้อมูลผ่านช่องทาง YouTube, Facebook และTwitter จากผลการวิจัย สื่อออนไลน์ ส่งผลต่อการยอมรับของประชาชน ที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นภาครัฐควรใช้สื่อออนไลน์ ทำให้เกิดการรับรู้ของประชาชน และควรมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนที่ไม่เคยได้ยินหรือรู้จัก สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ในเชิงกลยุทธและ นโยบายของประเทศ เพื่อ เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this study were to examine the behavior of electronic money service usage and digital currency holding in the public sector during the digital economy, as well as to investigate the digital currency information recognition channel issued by the Bank of Thailand and the anticipated benefits of using the Bank of Thailand's digital currency. This research was done in Thailand utilizing convenience sampling from the population. The model for binary logistic regression analysis was assessed at a significance level of 0.05 using data from 511 online survey respondents. According to the data, 80.2% of respondents embraced the digital money issued by the Bank of Thailand, while 19.8% did not. Service Provider Platform PromptPay, Utilization of Digital Currency Services, and Digital Currency Information Perception through YouTube, Twitter, and Facebook were the independent variables that substantially explained the dependent variable. The acceptance of digital currencies issued by the Bank of Thailand was influenced by online media, according to study results. Therefore, the government sector should use online media to raise public awareness, focusing on individuals who have never heard of or are unfamiliar with digital currency issued by the Bank of Thailand, in order to promote the country's plans and policies in preparation for the digital era |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐกิจดิจิทัล)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เศรษฐกิจดิจิทัล |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2070 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EC-DE-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WORAPORN WANNASAWANG.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.