Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2079
Title: | ประสิทธิผลของตำรับยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังจากกัญชาในรูปแบบที่แตกต่างกันต่อการยับยั้งเชื้อ Candida albicans และ Staphylococcus aureus |
Other Titles: | Efficacy of cannabis hemorrhiod and skin disease in different types of dosage form against Candida albicans and Staphylococus |
Authors: | ชฬาฬา กุญชรินทร์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | วาลุกา พลายงาม นันทพงศ์ ขำทอง |
Keywords: | ริดสีดวงทวารหนัก -- การรักษา;โรคผิวหนัง -- การรักษา;กัญชา -- เภสัชฤทธิวิทยา;กัญชา -- การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของตำรับยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังจากกัญชาในการยับยั้งต้านเชื้อรา Candida albicans และเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยตัวอย่างที่นำมาทดสอบประกอบด้วย น้ำมันจากตำรับยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังที่ สารสกัดจากตำรับยาด้วย Ethanol 95% และครีมที่พัฒนาจากตำรับยา นำมาทดสอบทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อด้วยวิธี Agar Well Diffusion โดยวัดค่า Inhibition Zone จากการวิจัยพบว่า ตำรับยามีฤทธิ์ต่อเชื้อ C. albicans ดังนี้ สารสกัด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.33 mm ครีมจากสารสกัด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.33 mm น้ำมัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10 mm ครีมจากน้ำมัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.67 mm ตามลำดับ ส่วนผลต่อเชื้อ S. aureus พบว่า สารสกัด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.33 mm ครีมจากสารสกัด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.33 mm น้ำมัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.67 mm ครีมจากน้ำมัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.33 mm จากนั้นหาค่า MIC ด้วยวิธี Broth Micro-Dilution และค่า MBC ด้วยวิธี Drop Plater พบว่า สารสกัดมีค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 2 เท่ากับ 31.25 mg/mL ค่า MBC ต่อเชื้อทั้ง 2 เท่ากับ 62.50 mg/mL ส่วนน้ำมันจากตำรับยา และครีมจากยาตำรับยามีค่า MIC และ MBC มากกว่า 500 mg/mL ต่อเชื้อทั้ง2 ซึ่งถือว่ามีฤทธิ์อ่อน ผลจากการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ตำรับยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังจากกัญชาต่อโรคติดเชื้อที่ผิวหนังและช่องคลอดต่อไปในอนาคต |
metadata.dc.description.other-abstract: | The aim of this study was to evaluate the antimicrobial activity of Cannabis hemorrhoid and skin disease in different types of dosage form including oil, the 95% ethanol extract and cream against Candida albicans and Staphylococcus aureus. Agar well diffusion evaluated by inhibition zone was used to screen the antimicrobial activity of samples. The study showed that all of samples demonstrated antimicrobial activity on C. albicans, with the inhibition zone diameter (16.33 mm, 9.33 mm, 10 mm and 10.67 mm) followed by the 95% ethanol extract, cream from the extract, oil and cream from oil. For S. aureus, the results revealed the inhibition zone diameter (25.33 mm, 10.33 mm, 9.67 mm and 10.33 mm) followed by the 95% ethanol extract, cream from the extract, oil and cream from oil. Then the samples were investigated for the Minimum Inhibitory Concentration (MIC) and Minimum Bactericidal Concentration (MBC) by using Broth Micro-Dilution and Drop Plater Methods. It was found that only 95% ethanol extracts provided MIC values at 31.25 mg/mL and MBC values at 62.50 mg/mL in both pathogens, while MIC and MBC values of oil and cream were presented more than 500 mg/mL This research will be the guideline for the application of cannabis hemorrhoids and dermatitis formulations for skin and vaginal infections in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การแพทย์แผนตะวันออก |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2079 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Ort-OM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHALALA KUNCHARIN.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.