Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2080
Title: การใช้ Big Data ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย
Other Titles: The use of big data in Thailand’s justice system
Authors: ปราชญ์ พงศ์อุทัย
metadata.dc.contributor.advisor: จอมเดช ตรีเมฆ
Keywords: กระบวนการยุติธรรม -- ไทย;การบริหารงานยุติธรรม -- ไทย;ข้อมูลขนาดใหญ่
Issue Date: 2565
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาสภาวะพื้นฐาน ปัญหาและแนวทางแก้ไขการใช้ Big Data ในกระบวนการยุติธรรมของไทย โดยระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบวิธีการวิจัย เชิงเอกสาร นำมาซึ่งข้อค้นพบด้านสภาวะพื้นฐานและปัญหาสำคัญ ดังนี้ คือ การประยุกต์ใช้ข้อมูล ขนาดใหญ่ในประเทศไทย รัฐบาลได้มีนโยบายเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม โดยพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ 5 ด้าน ดังต่อไปนี้ คือ 1)โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในหน่วยงานยุติธรรมของไทยมีมาตรฐานการจัดเก็บ ข้อมูลที่แตกต่างกัน 2) การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติที่ เกี่ยวข้องยังมีข้อจำกัด 3) หน่วยงานยุติธรรมของไทยมีนิยามการกระทำผิดซ้ำที่หลากหลาย 4) คุณภาพของแบบคัดกรองประเมินความเสี่ยงของผู้กระทำผิดซ้ำยังมีข้อจำกัด 5) บุคลากรส่วน ใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อค้นพบด้านแนวทางแก้ไข 1) ควรจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานยุติธรรม 2) การจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลจะทำให้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องข้อจำกัดในด้านกฎหมาย 3) ควรกำหนดนิยามและการนับข้อมูลการกระทำความผิดซ้า ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในหน่วยงาน ยุติธรรม เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4) ควรปรับปรุงคุณภาพของแบบคัดกรองประเมิน ความเสี่ยงของผู้กระทำผิดซ้ำ ให้มีความชัดเจนและข้อคำถามควรจะตรงกับเรื่องที่จะทำการประเมิน 5) ควรมีนโยบายในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลและจัดให้มีการฝึกอบรม ให้กับบุคลากร
metadata.dc.description.other-abstract: This study aimed to examine the base condition, problem, and guideline for the use of Big Data in Thailand’s judicial process. This study used qualitative, documentary research approach that led to findings in basic condition and major problems as that the Thai government had a policy to accelerate the use of Big Data with efficiency and concreteness, and there were major problems and obstacles in five aspects: 1) Varying standards of information infrastructure among Thai judicial departments, 2) legal limitations in big data management to conform with relevant acts, 3) diverse definition of recidivism by Thailand’s judicial departments, 4) limitations in quality of recidivism assessment form, 5) lack of staff knowledge in usage of modern technology. Findings related to solution was that 1) information center for judicial departments should be founded, 2) founding of information center would alleviate concerns about legal limitations, 3) definition and counting of recidivism should be the same standard for all departments, 4) quality of recidivism assessment form should be improved to be more relevant and clear, 5) there should be a policy in building consciousness about data governance and training
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2080
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PRAT PONGUTHAI.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.