Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2089
Title: เศรษฐกิจการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศลาว
Other Titles: Political economy of transition in Lao PDR
Authors: สุพรรณ สาคร
metadata.dc.contributor.advisor: รัตพงษ์ สอนสุภาพ
Keywords: เศรษฐกิจการเมือง;ลาว -- การเมืองและการปกครอง;ลาว -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศลาว มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์สู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดในประเทศลาว 2) ศึกษาการปรับตัวของรัฐและกลุ่มทุนภายใต้โครงสร้างระบบเศรษฐกิจตลาดตามทิศสังคมนิยม 3) เสนอกรอบแนวคิดในมิติเชิงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนบน กับโครงสร้างส่วนล่างภายใต้บริบทของประเทศลาว ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่าน จากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์ มาสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดในประเทศลาว เกิดจากโครงสร้างเชิงอุดมการณ์ภายในของลาวเอง เมื่อรัฐมีปฏิสัมพันธ์กับทุนโลกาภิวัตน์ จึงเกิดการปรับตัวเชิงทฤษฎีจากเศรษฐกิจแบบรัฐรวมศูนย์การผลิต มาเป็นรัฐที่มีระบบเศรษฐกิจแบบจินตนาการใหม่ ซึ่งกลายเป็นหลักนโยบายและกฎหมายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจการตลาด โดยทางการเมืองได้ปรับตัวด้วยการเรียนรู้ของผู้นำจากรุ่นสู่รุ่น ภายใต้จิตสานึกตระหนักรู้ตามหลักวัฒนธรรมของชาติและอุดมการณ์แบบสังคมนิยม ได้นำ สปป.ลาวก้าวไปตามบริบทของโลกเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตประชาชนลาวให้ทันสมัยหลุดพ้นจากความยากจน เป็นพลังผลักดันเพื่อเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจชายขอบ สู่เศรษฐกิจการตลาด โดยเฉพาะบทบาทของรัฐกับโลกไร้พรมแดนจะส่งผลทำให้ลาวเกิดการปรับตัวทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นเอกลักษณ์ของคนลาว (Socialist Market Economy) ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศลาว โดยเฉพาะบทบาทของรัฐกับโลกไร้พรมแดน บทบาทจีนกับระเบียงเศรษฐกิจ และบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ได้ส่งผลทำให้เกิดการปรับตัวของรัฐและทุนในรูปแบบเฉพาะที่ลาวเรียกได้ว่า “ระบบเศรษฐกิจตลาดกำหนดตามทิศสังคมนิยม” ที่มีเอกลักษณ์เป็นของประเทศลาว (Socialist Market Economy) ที่ประกอบด้วยทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ที่รัฐเป็นเจ้าของเองและทุนนิยมแบบผสม (Hybrid Capitalism) โดยรัฐ สปป.ลาวกับรัฐหรือทุนจากต่างประเทศร่วมลงทุนเป็นเจ้าของกิจการโดยตั้งบริษัทตัวแทนขึ้นมาดำเนินการระหว่างกัน
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to: 1) investigate the political economy of transition from centrally planned economy to market economy in Lao PDR, 2) study adjustments made by the government and capitalists in response to socialist market economy, and 3) propose frameworks of the relationship between the super structure and the infrastructure of the country. The result revealed that the transition was caused by idealistic structure existing in the country. In response to globalized capitalism, a theoretical change from the government in a centrally planned economy to the government in an imaginary economy was made. The new economic system became a policy and law which facilitated the market economy. In addition, national politics was adjusted to such change by learning from former leaders and realizing the principles of national culture and socialism ideology. The new economic system also led Lao PDR down the path of global contexts, freeing the nation from poverty and resulting in the transition to market economy. The role of the Lao government in globalization and the role of China against the Economic Corridor and the role of international organizations contributed to the occurrence of socialist market economy with a combination of state capitalism and hybrid capitalism in which the Lao government in collaboration with international governments or capitalists as joint entrepreneurs invested in an economic activity, appointing their own agents
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2089
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUPHAN SARKORN.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.