Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2095
Title: | การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
Other Titles: | Thai political communication through social media |
Authors: | มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข |
metadata.dc.contributor.advisor: | ธัชกร ธิติลักษณ์ |
Keywords: | การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย;สื่อสังคมออนไลน์;ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธี Content Analysis ผลงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทการสื่อสารทางการเมืองไทย ช่วง พ.ศ.2549 –พ.ศ.2563 (2) ศึกษากระบวนการสื่อสารของผู้ปฏิบัติการทางการเมืองผ่านปรากฎการณ์ในสื่อ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (3) ศึกษาปรากฏการณ์การหลอมรวมสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ และ (4) ค้นหาปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารทางการเมืองไทยที่คำนึงถึงบริบททางสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล (SMCR) เป็นกรอบวิจัยหลัก วิเคราะห์ร่วมกับทฤฎีการสื่อสารทางการเมือง นวัตกรรม พื้นที่สาธารณะ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ และเกลียวพลวัต ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการสื่อสารทางการเมืองของไทยช่วง พ.ศ.2549 –พ.ศ.2563 มีวิวัฒนาการไม่หยุดนิ่ง 2) กระบวนการสื่อสารของผู้ปฏิบัติการทางการเมืองพบว่า ผู้ส่งสารมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารในสังคมออนไลน์ “ศาสตร์ทางการตลาด” มีบทบาทในการเจาะกลุ่มเป้าหมายเพื่อการสื่อสารทางการเมือง และผู้รับสารในสังคมไทยมีความแตกต่างกันมาก แต่มีลักษณะเฉพาะร่วมกัน คือ อ่อนไหวง่ายต่อกระแสสังคมและนิยมหวังพึ่งวีรบุรุษซึ่งตรงกับลักษณะมีมสีแดงในทฤษฎีเกลียวพลวัต จึงทำให้การสื่อแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) ใช้ได้ผลดี 3) ปรากฏการณ์หลอมรวมสื่อสังคมออนไลน์เป็นนวัตกรรมสื่อใหม่ที่ขับเคลื่อนมวลชนในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการเกิด “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่” ช่วยผลักดันขอบเขตของ “พื้นที่สาธารณะ” ให้ขยายครอบคลุมพื้นที่ทั้งมิติกายภาพและมิติออนไลน์ ซึ่งในพื้นที่สาธารณะเสมือนนี้เองผู้ปฏิบัติการสามารถตอบโต้ได้สะดวกรวดเร็ว ผลิตชุดข้อมูลซํ้าได้โดยไม่ผูกติดกับสถานที่และเวลา 4) ปัจจัยความสำเร็จของการสื่อสารทางการเมืองภายใต้บริบทสังคมไทยนั้น พบว่า ประกอบด้วย “ผู้ส่งสาร” ที่มีทักษะการพูดดี เข้าใจกลยุทธ์ทางการตลาดและทักษะดิจิทัลใหม่ๆ “สาร” ที่เข้ากันได้ตรงกันกับพฤติกรรมและรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย “ช่องทางการสื่อสาร” ที่มีการช่องทางการสื่อสารแบบหลอมรวมระหว่างสื่อใหม่กับสื่อเก่า และ “ผู้รับสาร” ที่พร้อมสนองตอบต่อกระแสอย่างรวดเร็ว |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of the research were (1) to examine the context of Thai political communication from 2006 to 2020; (2) to examine the communication process of political actors through media phenomena, particularly social media; (3) to examine the phenomenon of convergence of traditional and new media; and (4) to investigate the success factors of Thai political communication in the context of a changing social and technological environment. In conjunction with political communication theory, innovation, public space, new social movement, and spiral dynamics, Berlo's Theory of Communication (SMCR) was used as the major research framework for study. Documents were utilized to study qualitative research, and content analysis was employed to analyze the data. The findings revealed that 1) the political communication setting of Thailand has developed consistently from 2006 to 2020; 2) messengers have a significant influence in determining the social media communication tactics of political players. “Arts of Marketing” plays a part in targeting political communication, with Thai society's viewers being somewhat diverse. In the theory of dynamics, their vulnerability to social trends and heroism correlate to the qualities. Thus, viral marketing (word-of-mouth communication) is successful; 3) the phenomenon of social media convergence is a new media invention that drives the masses in the digital age and enables the creation of the "new social movement." It extends beyond the confines of “Public Areas” to include both offline and online aspects. In this virtual public environment, operators may duplicate datasets fast and simply, regardless of place or time; and 4) it was discovered that the success aspects of political communication in the Thai social environment consist of “messengers” with excellent speaking skills and knowledge of modern marketing techniques and digital abilities. “Messages” are identical with the preferences and behaviors of the intended audience. The term “communication channel” blends new media with old media and a “receiver” that is able to adapt rapidly to trends |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2095 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MALLIKA BOONMEETRAKOOL MAHASOOK.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.