Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2100
Title: ความเหลื่อมลํ้าด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Gaps in social welfare for marginalized seniors in Bangkok
Authors: นุวัติวงศ์ ประเสริฐสังข์
metadata.dc.contributor.advisor: สังศิต พิริยะรังสรรค์
Keywords: ผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ;รัฐสวัสดิการ -- ไทย;คนชายขอบ -- ไทย;บริการสังคม -- ไทย -- กรุงเทพมหานคร
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร มี วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาสวัสดิการ สังคมสำหรับผู้สูงอายุในต่างประเทศ และ 3) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์สวัสดิการสังคมสำหรับ ผู้สูงอายุชายขอบในกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ ออกแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจาก 662 ชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร โดยการ สุ่มค่า10% ด้วยExcel ซึ่งได้ผู้สูงอายุ 67 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้กับ ข้อมูลจากเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้แนวคิดความเหลื่อมล้ำตั้งแต่โครงสร้าง สังคมในสมัยนั้น ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำ ตามแนวคิดการย้ายถิ่นฐาน เป็ นแรงงาน รับจ้าง ตามแนวคิดเศรษฐกิจนอกระบบ จนต้องอาศัยในชุมชนแออัด ตามแนวคิดคนชายขอบ ด้วย ข้อจำกัดนี้ทำให้สวนทางกับแนวคิดรัฐสวัสดิการ และข้อจำกัดของระบบราชการที่มีมาตรฐานเดียว ตามแนวคิดเกี่ยวกับรัฐราชการ โดยจากผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุชายขอบ เป็นผู้ไม่มีเลข 13 หลัก เพราะขาดการต่ออายุบัตร ขาดการแจ้งเกิด และด้วยระบบราชการที่ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี ทำ ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ คือ 1) ด้านการศึกษา ที่ต้องมีการลงทะเบียนและมีอุปกรณ์เพื่อเข้า ร่วม 2) ด้านเศรษฐกิจและทรัพย์สิน ที่สวัสดิการไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ 3) ด้านสุขภาพ ที่มี ขั้นตอนซับซ้อนเกินไป 4) ด้านที่อยู่อาศัย ที่ไม่ใช่กรรมสิทธ์ิไม่มีสิทธ์ิ และ 5) ด้านดิจิทัล ที่ขาด ความรู้ และขาดอุปกรณ์ ทั้งหมดนี้ทำให้เข้าใจถึงความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคม และเข้าใจถึง ปัญหาการเข้าถึงระบบสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะผู้สูงอายุชายขอบในชุมชนแออัด และได้แนวทาง พัฒนานโยบายด้านรัฐสวัสดิการ เพื่อนำไปเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติลดความเหลื่อมล้ำจริงได้ ให้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อก้าวไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้
metadata.dc.description.other-abstract: This study aimed to: 1) investigate the contexts of marginalized seniors in Bangkok, 2) investigate social welfares for the elderly in other countries, and 3) explore the status of social welfare for marginalized seniors in Bangkok. The research employed qualitative methodology and reviewed related literature. Data were collected through in-depth interviews with 67 seniors, the number of which was 10% of the total number of seniors from 662 communities in fifty districts of Bangkok. Data were analyzed based on related literature and theories including theories of social gaps with emphasis on the history of education in Thailand that contributed to the movement of loweducated workers which resulted in the settlement of labors in slum communities as a marginalized group. The seniors in this group needed to encounter limitations in social welfare as not all of them could access to it. Those limitations were caused by the Thai public administration system on the basis of bureaucratic polity resulting in social gaps. According to the result, most marginalized seniors did not have Thai citizen identification numbers since they did not submit a request for the renewal. The bureaucratic system without ineffective public relations contributed to gaps in social welfare as follows: 1) education where seniors were required to have to register or participate in a program, 2) economy and assets where social welfare was inaccessible to informal workers, 3) health where seniors suffered from the complexity of health care systems, 4 ) housing where properties were not owned by marginalized seniors, and 5) digital technology where seniors lacked knowledge. If we realize those gaps, we will understand the problems. In addition, to increase national wealth and promote sustainability and to correspond with the 20-Year National Strategy, the result can be applied to the development of social welfare policy for practical use to reduce gaps.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2100
metadata.dc.type: Thesis
Video
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NUWATIWONG PRASERTSUNK.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.