Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2124
Title: การพัฒนาความสามารถด้านคาศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้
Other Titles: The development of chinese vocabulary ability using mnemonics technique with learning application of grade 5 students
Authors: ปวริศา ดำรงจิตสงวน
metadata.dc.contributor.advisor: ชิดชไม วิสุตกุล
Keywords: ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน;เทคนิคช่วยการจำ;แอพพลิเคชั่น
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ 2) ศึกษาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนจานวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีน มีลักษณะเป็นแบบข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test for dependent samples และ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนหลังเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาจีน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจาร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ ผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ มีคะแนนที่เพิ่มขึ้น 5.17% และ 3) นักเรียนที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ชอบและสนุกกับการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์ภาษาจีนได้ดีขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research were 1) to compare the Chinese vocabulary ability of fifth-grade students before and after using mnemonic techniques with a learning application; 2) to investigate the retention of Chinese word memorization of fifth-grade students before and after using mnemonic techniques with a learning application; and 3) to investigate the attitudes of fifth-grade students toward the use of mnemonic techniques with a learning application. The sample of the study consisted of fifth-graders in the first semester of the academic year 2022 at a private school in the province of Kanchanaburi. In the study, cluster random selection was utilized, resulting in one classroom with 44 students. The study instruments comprised 1) six lesson plans, 2) a multiple-choice test of Chinese vocabulary ability with four options, and 3) an interview to determine students' perspectives on mnemonic techniques for learning application. Mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and content analysis were used to examine the data. The results revealed that 1) The students' Chinese vocabulary ability after using mnemonic techniques with learning application was significantly higher than before learning at.01 level; 2) The students' retention of Chinese vocabulary after two weeks of using mnemonic techniques with learning application increased by 5.17 %; and 3) the majority of the students interviewed liked and enjoyed using mnemonic techniques with learning application to learn and improve the ability of Chinese vocabulary.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2124
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PAWARISA DAMRONGJITSANGUAN.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.