Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชิดชไม วิสุตกุล-
dc.contributor.authorจิระนันท์ โตสิน-
dc.date.accessioned2023-12-12T06:45:46Z-
dc.date.available2023-12-12T06:45:46Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2130-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการฟังโน้ตดนตรีสากลก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบทักษะการร้องโน้ตดนตรีสากลก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นนักเรียนที่เลือกเข้ากิจกรรมชุมนุมดนตรีสากล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการฟังโน้ตดนตรีสากล จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการร้องโน้ตดนตรีสากล จำนวน 10 ข้อ และ 4) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 7 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการฟังโน้ตดนตรีสากลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีทักษะการร้องโน้ตดนตรีสากลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียน และ 3) นักเรียนรู้สึกชอบในกิจกรรมการเรียนรู้มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย ทำให้การเรียนในวิชาดนตรีไม่น่าเบื่อ มีความสนุก และตื่นเต้น สามารถพัฒนาทักษะการฟังโน้ตและทักษะการร้องโน้ตดนตรีสากลได้ดีขึ้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectดนตรีสากล -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectเทคนิค STADen_US
dc.subjectการฟังen_US
dc.titleการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดดาลโครซร่วมกับเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการร้องโน้ตดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeUsing learning activities based on dalcroze concept with STAD technique to develop listening and singing skill of grade 8 studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of the study were to 1) compare listening skills in musical notes of grade 8 students before and after using learning activities based on Dalcroze concept with STAD technique; 2) compare singing skills in musical notes of grade 8 students before and after using learning activities based on Dalcroze concept with STAD technique; and 3) explore grade 8 students’ opinions towards learning activities based on Dalcroze concept with STAD technique. The sample was students in secondary school who are currently enrolled in the second semester of the academic year 2022 at a public school in Phitsanulok Province and who have made the decision to take part in activities associated with an international music festival activity. There will be a total of thirty participants in this group. The research instruments consist of 1) four lesson plans based on Dalcroze concept with STAD technique; 2) test for listening skills in musical notes for 20 items; 3) test for singing skills in musical notes for 10 items; and 4) interview form towards grade 8 students’ opinions towards learning activities based on Dalcroze concept with STAD technique for seven questions. Statistics used in data analysis were mean, percentage and standard deviation. The findings revealed that 1) After learning activities using the Dalcroze concept with STAD technique, the students' listening skills in musical notes were higher than before; 2) After learning activities using the Dalcroze concept with STAD technique, the students' singing skills in musical notes were higher than before; and 3) Diverse learning activities are preferred by students. There exist easily comprehensible steps. The incorporation of engaging and stimulating elements in music education renders the learning process dynamic and captivating. The practice can enhance one's ability to listen to musical notes and improve their singing skill.en_US
dc.description.degree-nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JIRANAN TOSIN.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.