Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2159
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสาทสัมผัสในระบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย
Other Titles: Effect of montessori sensorial materials on kindergarten students’ executive function skills
Authors: ปัณฑ์ชนิตษ์ จงแย้มเหมือน
metadata.dc.contributor.advisor: ชิดชไม วิสุตกุล
Keywords: เด็กปฐมวัย -- กิจกรรมการเรียนการสอน;การสอนแบบมอนเตสซอรี่ -- วิจัย;เด็ก -- การพัฒนา;ทักษะการคิด
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงบริหารโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อประสาทสัมผัสในระบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ของเด็กปฐมวัยที่มีความพร้อมมาก พร้อมปานกลาง และพร้อมน้อย และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสาทสัมผัสในระบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1-3 ที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่โรงเรียนสังกัดเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 52 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสาทสัมผัส จำนวน 4 แผน 2) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กวัยก่อนเรียน จำนวน 32 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อประสาทสัมผัสในระบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่ มีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนของผลการประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กวัยก่อนเรียน พบว่า ระดับความพร้อมของเด็กที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มพร้อมน้อย พร้อมปานกลาง และพร้อมมาก ทาให้ผลการประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) เด็กปฐมวัยแสดงความคิดเห็นทั้งชอบและไม่ชอบกับการทางานประสาทสัมผัส แต่เด็กสามารถทางานได้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของตนเอง และเด็กมีทักษะการคิดเชิงบริหารที่ดีขึ้นหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสาทสัมผัสในระบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to 1) compare executive function skills among kindergarten students in three different levels of readiness: high, medium, and low, and 2) explore their opinions towards the implementation of Montessori sensorial materials in instructional management. The samples were 52 kindergarten students in level 1, 2, and 3 enrolling in semester 1 of the academic year 2022, at a private school in Samutsakhon province, Thailand, obtained through cluster random sampling. The instruments included: 1) four lesson plans incorporated with Montessori sensorial materials, 2) an evaluation of executive function skills with 32 items with 5-rating scale response options each, and 3) an interview about their opinions towards the instructional management. Data were analyzed using mean, standard deviation, and one-way ANOVA. The results revealed that 1) the mean of the students’ executive function skills after treated with Montessori sensorial materials was higher. Levels of readiness (high, medium, and low) were found to affect their executive function skills with a significance level of .05. 2) The students liked and disliked the method implemented; however, they could work in activities to develop their executive function skills. Finally, they had higher executive function skills after learning through Montessori sensorial materials.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2159
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-CI-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PANCHANIT CHONGYAEMMUEAN.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.