Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2198
Title: ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Need assessment and guidelines of innovative leadership: teachers under a private school in Ayutthaya Province
Authors: วริยากร อัศววงศานนท์
metadata.dc.contributor.advisor: พิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์
Keywords: ภาวะผู้นำ -- กรณีศึกษา -- พระนครศรีอยุธยา;ครู -- สมรรถนะ;ภาวะผู้นำทางการศึกษา -- พระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 275 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับของความต้องการจำเป็น (PNI) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารทางการศึกษาจำนวน 3 คน จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในลำดับถัดไป ผลของการวิจัยพบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแต่ละด้านจากมากไปน้อย คือ 1) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม 3) การมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง 4) การคิดสร้างสรรค์ และ 5) การสร้างบรรยากาศในองค์กร โดยแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู ด้านที่ 1 การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 6 แนวทาง ด้านที่ 2 การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ด้านที่ 3 การมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ด้านที่ 4 การคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง และด้านที่ 5 การสร้างบรรยากาศในองค์กร ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to explore need assessment and guidelines for developing innovative leadership of teachers in a private school located in Ayutthaya Province. The sample of this study consisted of 275 teachers. The instrument for quantitative data collection was a questionnaire on the current and desirable conditions for developing innovative leadership of teachers. Quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and priority need assessment index. The qualitative data obtained through the in-depth interviews with the three educational administrators were analyzed using content analysis. The result revealed, according to the priority needs index, from the most to the least, as follows: 1) transformational leadership; 2) team work and collaboration; 3) vision for change; 4) creative thinking; and 5) organizational climate creativity. The guidelines for the innovative leadership of teachers were composed of: 1) transformational leadership with six guidelines; 2) team work and collaboration with four guidelines; 3) vision for change with four guidelines; 4) creative thinking with four guidelines, and 5) organizational climate with four guidelines, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การบริหารการศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2198
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-EA-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VARIYAKON ASSAVAWONGSANON.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.