Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2204
Title: | แนวทางการพัฒนางานบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Guidelines for the development of academic administration of the bachelor of arts program in english of a private university in Pathum Thani Province |
Authors: | เกษชฎาภรณ์ เรืองกาญจนกิจ |
metadata.dc.contributor.advisor: | จุลดิศ คัญทัพ |
Keywords: | การบริหารงานวิชาการ;ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน;มหาวิทยาลัยเอกชน -- ไทย -- ปทุมธานี |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี และนา เสนอแนว ทางการพัฒนางานบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานด้านวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 5 คน โดยใช้ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทางการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของการบริหารงานด้านวิชาการคือ การที่มหาวิทยาลัยสามารถขอ ความร่วมมือหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ง่าย จุดอ่อนที่สำคัญในองค์กรก็คือ การ ขาดแคลนแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย อุปสรรคสำคัญต่อการบริหารงานวิชาการคือ การขาดการ วางแผนกลยุทธ์ในระยะยาว โอกาสในการพัฒนาการบริหารวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาหรือการวางแผนการพัฒนาโดยสอดแทรกการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปในหลักสูตร โดยร่วมมือกับทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและนอก องค์กร ส่วนแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านวิชาการได้แก่ 1) แนวทางเชิงรุก ควรมีการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ที่ทันสมัย 2) แนวทางเชิงแก้ไข ควรกำหนดให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือเพื่อพัฒนาการ บริหารจัดการวิชาการของมหาวิทยาลัย 3) แนวทางเชิงป้องกัน ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เป็นระบบออนไลน์ รวมถึงควรมีการวางแผนกลยุทธ์ในระยาว 4) แนวทางเชิงรับ ควรมี การฝึกอบรมการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ ให้แก่บุคลากรอย่าง สม่ำเสมอ ตลอดจนมีการส่งเสริมการสร้างความรู้ทางวิชาการให้แก่ชุมชน |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research was to investigate the academic administration of the Bachelor of Arts Program in English of a private university in Pathum Thani Province and propose guidelines for the development of its academic administration. This study employed qualitative methodology. Data were obtained through from semi-structured interviews with five key informants who were experts and specialists in academic administration at the university level, and content analysis was conducted. Data were then descriptively presented. The results showed that the strength of academic administration was that the program easily gained support from variety of organizations, and its weakness was the lack of research funding. The main obstacle to its academic administration was the lack of long-term strategic planning. The program was recommended the application of technology to curriculum planning and strong collaboration with inside and outside organization. The research proposed four approaches to improve its academic administration, namely: 1) Proactive approach: the establishment of national and international academic collaborative networks to update bodies of knowledge; 2) Corrective approach: the improvement of the educational quality or the university’s academic management, 3) Preventive approach: the development of innovative online media and the implementation of a long-term strategic plan, and 4) Defensive Approach: the development of training programs on the use of digital technology and educational innovations organized regularly for its personnel as well as the promotion of academic knowledge among community members. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การบริหารการศึกษา |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2204 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | EDU-EA-M-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KATECHACHADAPOND.pdf | 866.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.