Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2275
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการพัฒนาถ่านกัมมันต์จากลูกหูกวางเพื่อดูดซับโครเมียม (III) ในน้ำเสียจากการวิเคราะห์ค่า COD |
Other Titles: | Development of activated carbon from the seed of terminalia catappa for removal of chromium ZIII) in COD wastewate |
Authors: | ปัญญา มณีจักร์ |
Keywords: | โครเมียม (III) ไอออน -- การดูดซับ;ถ่านกัมมันต์ -- การดูดซับ -- วิจัย |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมถ่านคาร์บอไนซ์และถ่านกัมมันต์จากลูกหูกวาง สําหรับใช้เป็นสารดูดซับสีโครเมียม (III) ไอออน โดยถ่านคาร์บอไนซ์สามารถเตรียมได้จากการเผาลูกหูกวางที่ อุณหภูมิต่างๆ (300 400 และ 500 องศาเซลเซียส) ในระยะเวลาต่าง ๆ กัน (1 2 และ 3 ชั่วโมง) จากนั้นกระตุ้นถ่านคาร์บอไนซ์ด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ด้วยอัตราส่วนต่างๆ แล้วนําไปเผา กระตุ้นที่อุณหภูมิและระยะเวลาเดียวกัน พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านคาร์บอไนซ์คือ 500 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์ คือใช้ถ่านคาร์ บอไนซ์ต่อโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 เผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง สภาวะนี้ให้ค่าความสามารถในการดูดซับโครเมียม (III) สูงที่สุด จากนั้นศึกษากลไกการดูด ซับโดยใช้แบบจําลองของ แลงเมียร์และฟรุนคลิชพบว่า ทั้งถ่านคาร์บอไนซ์และถ่านกัมมันต์มีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์ (R) เข้าใกล้ 1 เมื่อใช้แบบจําลองพรุนตลิช แสดงว่าการดูดซับโครเมียม (III) ไอออน ของถ่านทั้งสองชนิดเป็นหลายชั้น และจากการศึกษาจลนศาสตร์การดูดซับโครเมี่ยม (III) ไอออน พบว่าสอดคล้องกับ pseudo-second order การดูดซับโครเมียม (III) ไอออนในน้ําทิ้งจาก การวิเคราะห์ค่า COD พบว่าถ่านกัมมันต์จากลูกหูกวาง สามารถกําจัดโครเมียม (III) ไอออนต่อ ปริมาณถ่าน เท่ากับ 4.64 มิลลิกรัมต่อกรัมซึ่งสูงกว่ากัมมันต์การค้า (Fluka 50120) ซึ่งกําจัดได้เพียง 0.61 มิลลิกรัมต่อกรัม |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research studied the preparation of carbonized and activated carbon from the seed of Terminalia Catappa as an adsorbent for the removal of chromium (III). The carbonized carbon was prepared by pyrolysis of Terminalia Catappa seed at difference temperature (300 400 and 500 °C) for variable time (1 2 and 3 hours). The obtained carbon was then activated by chemical activation using potassium hydroxide (KOH) as an activating agent with different ratio. The best condition to prepare carbonized carbon was 500 °C for 1 hour. To produce the activated carbon, one to one ratio of carbonized carbon to KOH was found to be the optimum condition under 400 °C for 3 hours. Using the Langmuir and Freundlich absorption models, it was found that both carbonized and activated carbon showed R2 approaching 1 when Freundlich model was applied. The adsorption kinetics was found to follow the pseudo-second-order kinetic model. In addition, adsorption of chromium (III) ion in COD waste water was examined. Similarly, the activated carbon sample got rid of chromium (III) ion from waste water of 4.64 mg/g. It showed that it and was higher than that of the commercially available activated carbon (Fluka 50120), which was only 0.61 mg/g. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2275 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Sci-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PANYA MANEECHAKR.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.