Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2287
Title: การศึกษาคุณภาพชีวิต การดูแลตนเอง และการปรับตัว ของชายไทยที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน
Other Titles: A study of life quality, self-care and coping with diabetes in thai Men with non-insulin dependent diabetes mellitus
Authors: วิมลรัตน์ บุญเสถียร
Keywords: เบาหวาน -- การดูแล -- วิจัย;การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง -- วิจัย
Issue Date: 2543
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อค้นหาคุณภาพชีวิต การดูแลตนเอง และการปรับตัวด้านอารมณ์ และจิตใจ ของชายไทยที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้รับการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชานพระนคร 2 แห่ง จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความพึงพอใจในชีวิต และแบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ รวมทั้งสัมภาษณ์ลึกผู้ป่วย จำนวน 30 คน เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และการปรับตัวด้านอารมณ์ และจิตใจเมื่อเป็นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุ มีอายุเฉลี่ย 63.2 ปี เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ สถานภาพสมรสคู่ ได้รับการศึกษาขั้นต่ำชั้นประถมศึกษา ครอบครัวมากกว่าครึ่งมีฐานะระดับปานกลาง มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเบาหวานมานานเฉลี่ย 8.23 ปี ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รักษาโดยรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และเกือบทั้งหมดเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบประสาท ด้านคุณภาพชีวิต คะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (X = 7.36, SD = 1.89) ปัจจัยที่ทำให้ชายไทยเหล่านี้มีความพึงพอใจในชีวิตในระดับแตกต่างกัน คือ ครอบครัว เศรษฐกิจ ภาวะสุขภาพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (X = 6.40, SD = 2.13) ปัจจัยที่ทำให้ชายไทยเหล่านี้มีการรับรู้ภาวะสุขภาพในระดับแตกต่างกัน คือ ผลกระทบของโรคต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ต่อการทำงานและการช่วยเหลือตนเอง และปัจจัยด้านอายุ ด้านการดูแลตนเอง สรุปในภาพรวมผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะมีการดูแลตนเองใน 4 ด้าน ดังนี้ การควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานยา และมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ด้านการปรับตัวด้านอารมณ์และจิตใจ และวิธีเผชิญความเครียด ครั้งแรกที่ผู้ป่วยทราบผลการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเกือบครึ่งปรับตัวยอมรับไม่ได้ และใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับอารมณ์ แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยเกือบทั้งหมดสามารถปรับตัวยอมรับการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเบาหวานได้ โดยใช้วิธีเผชิญความเครียดแบบมุ่งจัดการกับปัญหา ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่ตรงกรณีเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต การดูแลตนเอง และการปรับตัวของชายไทยที่เป็นเบาหวาน ซึ่งสามารถขยายขอบเขตความรู้ทางการพยาบาลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และการดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นได้
metadata.dc.description.other-abstract: The purpose of this exploratory-descriptive study was to describe life quality, self-care and coping with Non-Insulin Dependent Diabetes Mellitus (NIDDM). A purposive sample of 100 men with NIDDM were recruited from outpatient departments of two suburban hospitals. The subjects were interviewed for demographic information and responded to the Ladder Scale of Life Satisfaction and Health Status, in-depth interview of 30 men for self-care and coping with NIDDM. Alll data were collected by the researcher and analyzed by percentage, average, standard deviation and content analysis. The participants were predominantly old aged, the average age was 63.2 years, almost were Buddhisms, were married, were primary school educated, more than a half were middle economy, and BMI were more than standard. The average duration of diabetes was 8.23 years. Most of the participants couldn’t control their blood sugar. Almost participants were taking oral hypoglycemic drugs, and had experienced chronic diabetes complications, especially neurological system. The men perceived high life satisfaction. (X = 7.36, SD = 1.89) Factors which influenced their life satisfaction included family, economy, illness and impact from diabetes. Participants perceived their health status at a moderate level. (X = 6.40, SD = 2.13) Factors which influenced their health status included perceived impact of diabetes on their physical and psycho-emotional status, job and self-help on activity daily living, and age. Conclusively, Most of the men who could control their blood glucose had good self-care of the four domains of eating behavior, exercise, taking medication and follow-up. At the first diagnosis of diabetes, nearly a half of men couldn’t adapt their self, used emotional-focus coping. Nowadays, almost men managed and lived with their diabetes by used problem-focus coping. The finding of this study provide relevant information relating to life quality, self-care, and coping of Thai men with diabetes. The finding can expand nursing knowledge in dimension of quality of life and nursing care in chronic illness.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2287
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Sci-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WIMONRAT BOONSATHIEN.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.