Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2292
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากรา endophyte จากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย
Other Titles: Antimalarial substances produced by endophytic fungi on antimalarial medicinal plants
Authors: พัตรา สุนทรฐิติเจริญ
Keywords: มาลาเรีย -- การป้องกันและควบคุม -- วิจัย;มาลาเรีย -- การรักษาด้วยยา -- วิจัย;สารสกัดจากพืช -- วิจัย;จุลชีววิทยา -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: รายงานวิจัยเรื่องสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากรา endophyte จากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาหาสารต้านมาลาเรียจากสารสกัดเชื้อราชนิดเอนโดไฟต์จากต้นไม้สมุนไพร ได้แก่ต้นส้มโอและต้นราชพฤกษ์ที่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย รวมทั้งทดสอบสารสกัดต้านแบคทีเรียบางชนิด โดยเก็บใบและลำต้นของต้นส้มโอและต้นราชพฤกษ์ จากจังหวัดปทุมธานี จากนั้นนำมาแยกราเอนโดไฟต์โดยการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ทดสอบฤทธิ์ของสารจากราเอนโดไฟต์จากต้นส้มโอต้านแบคทีเรีย 4 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa ด้วยวิธี agar diffusion และทดสอบหาค่าการยับยั้ง (Minimal inhibitory concentration, MIC) และการฆ่าเชื้อ (Mimimal bactericidal concentration, MBC) ของสารสกัด ethyl acetate จากต้นส้มโอและต้นราชพฤกษ์ ด้วยวิธี broth micirodilution และทดสอบฤทธิ์ต้าน Plasmodium falciparum โดยหาค่าการยับยั้งการเจริญของเชื้อ (IC50) ด้วยวิธี microculture radioisotope techniques ผลการวิจัยพบว่า ราเอนโดไฟต์จากลำต้นส้มโอมี 14 isolates ส่วนราเอนโดไฟต์จากลำต้นราชพฤกษ์มี 6 isolates สารสกัด ethyl acetate ของราเอนโดไฟต์จากพืชทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียชนิดแกรมบวกคือ S. aureus และ B. subtilis ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมลบ สำหรับสารต้านมาลาเรียพบว่า สารสกัด ethyl acetate ของราเอนโดไฟต์จากลำต้นส้มโอมี 1 ชนิด ชื่อ Cmax3 สามารถยับยั้ง P. falciparum, K1 ได้ มีค่า IC50 เท่ากับ 3.66 μg/ml
metadata.dc.description.other-abstract: The research was antimalarial substances produced by endophytic fungi on antimalarial medicinal plants. The objective of this study is searching for antimalarial and antibacterial activities of endophytic fungi from Citrus maxima, Merr. and Cassia fistula, Linn. The stem and leaf of the plants were collected in Pathumthani, Thailand and examined for the presence of endophytic fungi. Antibacterial activity of endophytic fungi from C. maxima, Merr. was done by agar diffusion method against Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Escherichia coli and Pseudomonas aeruginosa. Ethyl acetate extract of endophytic fungi from two plants were tested against the bacterial for MIC and MBC by broth micirodilution method. The extracts were examined to P. falciparum, K1 strain by microculture radioisotope techniques for 50% of growth inhibition (IC50). A total of 20 isolates, 14 isolates were obtained from stem of C. maxima, Merr. and 6 isolates from stem of C. fistula, Linn. Ethyl acetate extracts of endophytic fungi from the plants have antimicrobial activity against Gram-positive bacteria, S. aureus and B. subtilis. The ethyl acetate extract of endophytic fungi from C. maxima, Merr., Cmax3, has an activity against P. falciparum at IC50 of 3.66 μg/ml.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2292
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Sci-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PATTRA SUNTORNTHITICHAROEN.pdf889.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.