Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2294
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการคัดเลือกสายพันธุ์และการศึกษาลักษณะสมบัติของผลผลิตของรา Aureobasidium pullulans ในการผลิตพูลลูแลน พอลิมาลิกแอสิด และเฮฟวี่ออยล์
Other Titles: Screening and characterization of isolates of the fungus aureobasidium pullulans for production of pullulan, poly(β-L-malic acid) and heavy oil
Authors: เพ็ญนภา มานิตย์โชติพิสิฐ
Keywords: เชื้อรา -- พันธุศาสตร์ -- วิจัย;พูลลูแลน -- วิจัย
Issue Date: 2555
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ราสายพันธุ์ Aureobasidium pullulans เป็นแหล่งสำคัญของการผลิตพอลิแซคคาไรด์พูลลูแลนในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถผลิตผลผลิตทางชีวภาพอื่นๆ ได้หลายชนิด เช่น เอนไซม์ไซลาเนส พอลิมาลิกแอสิด และเฮพวี่ออยล์ เป็นต้น การศึกษาในครั้งนี้ รา A. pullulans จำนวน 36 สายพันธุ์ ถูกคัดแยกได้จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์ และถูกจัดจำแนกกลุ่มโดยการประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ สายพันธุ์จากประเทศไอซ์แลนด์จัดอยู่ใน clade 13 ซึ่งจัดเป็นกลุ่มใหม่ ในขณะที่สายพันธุ์จากประเทศไทยกระจายอยู่ 8 กลุ่ม รวมทั้ง clade 14 ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของราชนิดนี้ในเขตร้อน คัดเลือกตัวแทนรา 30 สายพันธุ์จากการศึกษาในครั้งนี้ รวมกับอีก 26 สายพันธุ์ที่เคยมีการศึกษามาก่อนหน้านี้ มาศึกษาการผลิตพอลิมาลิกแอสิด สายพันธุ์ส่วนใหญ่ผลิตได้อย่างน้อย 4 g/L โดยเฉพาะหลายสายพันธุ์ใน clades 9,11 และ 13 สามารถผลิตได้มากถึง 9-11 g/L แต่ละสายพันธุ์สามารถผลิตพูลลูแลนและเฮพวี่ออยล์ได้ แต่พอลิมาลิกแอสิดที่คัดแยกได้จากการตกตะกอนด้วยเอธานอลมีความบริสุทธ์มากถึง 72% มีการปนเปื้อนพูลลูแลนไม่ถึง 12% น้ำหนักโมเลกุลของพอลิมาลิกแอสิดอยู่ระหว่าง 6.4 – 7.8 kDa จากการสำรวจสายพันธุ์ที่ผลิตเฮพวี่ออยล์ พบว่าส่วนใหญ่จะอยู่ใน clades 8, 9 และ 11 สีของออยล์จะแตกต่างไล่เลียงกันตั้งแต่สีเหลืองถึงสีเขียว มากกว่าครึ่งจะสามารถเรืองแสงฟลูออเรสเซนส์ ปริมาณออยล์ที่ผลิตได้อยู่ระหว่าง 0.5 – 6.0 g/L ออยล์จากสองสายพันธุ์ถูกนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งพบว่ามีการยับยั้งเซลล์มะเร็งได้แตกต่างกัน การวิเคราะห์โครงสร้างของออยล์แสดงให้เห็นว่าแต่ละสายพันธุ์มีโครงสร้างที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกันมาก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์รา A. pullulans ในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันในการผลิตพูลลูแลน พอลิมาลิกแอสิด และออย์ทั้งในด้านปริมาณและลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ จึงเป็นประโยชน์ในการคัดเลือกและพัฒนาการผลิตผลผลิตทางชีวภาพจากราชนิดนี้ต่อไปในอนาคต
metadata.dc.description.other-abstract: Fungus Aureobasidium pullulans is the main source of a polysaccharide, pullulan, in industrial production. Moreover, it can produce many bioproducts, e.g. xylanase, poly (β-L-malic acid) (PMA), and heavy oil. In this study, thirty-six strains were isolated from various locations in Iceland and Thailand. They were classified using morphological characteristic and sequencing analysis. All strains from Iceland belonged to a newly recognized clade 13, while strains from Thailand were distributed among 8 other clades, including a novel clade 14 indicating the diversity of this fungus in tropical zone. Thirty of these isolates, along with 26 previously described strains, were examined for PMA production. Most strains produced at least 4 g PMA/L, and several strains in clades 9, 11, and 13 made 9-11 g PMA/L. Strains also produced both pullulan and heavy oil, but PMA isolated by differential precipitation in ethanol exhibited up to 72% purity with no more than 12% contamination by pullulan. The molecular weight of PMA from A. pullulans ranged from 6.4 to 7.9 kDa. From a survey of strains producing extracellular heavy oils, most oil producers fell into phylogenetic clades 8, 9, and 11. Oil colors ranged from bright yellow to malachite. More than half of the strains produced oil that was fluorescent. Oil yields ranged from 0.5 to 6.0 g oil/l. Oil from two strains differentially inhibited mammalian cancer cell lines. MALDI-TOF MS spectra suggested that A. pullulans strains produce a family of related oil structures. Results indicate that certain genetic groups of A. pullulans are promising for the production of PMA, pullulan, and heavy oil with different yields and characters. This study would be useful for strain selection and development of production from this fungus in the future
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2294
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Sci-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PENNAPA MANITCHOTPISIT.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.