Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2320
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
Other Titles: Health promoting behaviors of persons with HIV/AIDS
Authors: วารินทร์ บินโฮเซ็น
ทีปภา แจ่มกระจ่าง
ประวีณา อนุกูลพิพัฒน์
พัชรา ตันธีรพัฒน์
พุทธิกาญจน์ กิจจาบัญชา
Keywords: กลุ่มอาการขาดภูมิคุ้มกัน;โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์;โรคเอดส์;ไวรัส, โรค
Issue Date: 2551
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้แบบจำลองพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2006) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสมุทรปราการ และ สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 630 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ 0.93, 0.82 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงใกล้เคียง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านพบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ และ ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านกิจกรรมทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลางและสูงใกล้เคียงกัน ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาที่ทราบผลการติดเชื้อ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (p > .05) ในขณะที่การรับรู้ความสามารถตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ( =.661, .565 ตามลำดับ, p =.000, .000) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พยาบาลควรตระหนักถึงประโยชน์ของการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
metadata.dc.description.other-abstract: This descriptive correlational study aimed to investigate health promoting behaviors and factors relating to health promoting behaviors including demographic factor, self-efficacy, and social support of persons with HIV/AIDS. Pender’s health promoting model (2006) was used as a conceptual framework. A purposive sample of 630 was recruited from the out-patient department of Nopparat Rachathanee Hospital, Samutprakan Hospital and Bumrasnaradura Infectious Disease Institute. The instruments used to collect data comprised Demographic sheet, Perceived self –efficacy questionnaire, Social support questionnaire and Health promoting behavior questionnaire. Content validity of the Perceived self – efficacy questionnaire, Social support questionnaire and Health promoting behavior questionnaire was approved by 3 experts. Internal consistency reliability of Perceived self – efficacy questionnaire, Social support questionnaire and Health promoting behavior questionnaire was 0.93, 0.82, and 0.92 respectively. Descriptive statistics, Chi –Square test and Spearman Rank Correlation Coefficient were used in data analysis. The findings showed that health promoting behaviors of persons with HIV/AIDS were at a high and moderate level. Regarding the 6 aspects of health promoting behaviors, health responsibility, nutrition, and spiritual growth were at a high level while physical activity and interpersonal relations aspect was at a moderate level and stress management was at a high and moderate level. It was found that personal characteristics including gender, marital status, education level, family income and perceived HIV infection period were not correlated with health promoting behaviors. Nevertheless, self- efficacy and social support were significantly positive correlated at moderate level with health promoting behaviors (r = .661, .565, respectively, p =.000, .000). Nurses should consider the benefits of improving self-efficacy and social support in enhancing health promoting behaviors among persons with HIV/AIDS.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2320
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Nur-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VARIN BINHOSEN.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.