Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมาณี น้าคณาคุปต์-
dc.contributor.authorพรทิพย์ คนึงบุตร-
dc.contributor.authorฐิติรัตน์ น้อยเกิด-
dc.date.accessioned2024-04-18T05:48:40Z-
dc.date.available2024-04-18T05:48:40Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2321-
dc.description.abstractการดูแลของพยาบาลในห้องคลอดมีความสำคัญมากเพราะมีผลต่อผลลัพธ์การคลอดทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจของผู้คลอด หากการคลอดมีความปลอดภัยและผ่านไปได้ด้วยดีจะทำให้เกิดความ พึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ของการดูแลในระยะคลอด และ ความสัมพันธ์ของการรับรู้กระบวนการ ดูแลในระยะคลอดกับผลลัพธ์ของการดูแล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้คลอดที่ได้รับ การบริการดูแลในระยะคลอดของแผนกห้องคลอดโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 – สิงหาคม 2559 จำนวน 359 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดที่พัฒนาโดยผู้วิจัย 3) แบบ ประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบประเมินที่พัฒนาโดย มาณี จันทร์โสภาและคณะ (2555) และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการแบบขั้นบันได โดย แบบประเมินการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด และแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การ คลอดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และผ่านการ ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย โครงสร้างด้านพยาบาล พบว่า อายุเฉลี่ย 38.43 ปี ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 15.14 ปี ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.6 ไม่มีโรคประจำตัวด้าน ผู้ใช้บริการ พบว่า อายุเฉลี่ย 25.70 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 อายุ 20-34 ปี ร้อยละ 61.6 ระดับ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 50.7 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 67.4 เคยมีประสบการณ์คลอดบุตร และ ร้อยละ 57.9 ไม่ได้รับความรู้การเตรียมคลอด ด้านกระบวนการดูแล พบว่า ผู้คลอดมีการรับรู้ กระบวนการดูแลในระยะคลอดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =56.56, SD=15.42) ด้านผลลัพธ์ การดูแล พบว่า ผู้คลอดมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดโดยเฉลี่ยเป็นทางบวก ( =75.35, SD=10.42) และมีความพึงพอใจต่อการบริการโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =6.86, SD=2.10) การรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้ ประสบการณ์การคลอด (rs = .44) และความพึงพอใจต่อการบริการ (rs = .58) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติทีM p < .001 จากผลการวิจัย ควรมีการพัฒนากระบวนการดูแลในแต่ละระยะของการคลอดเพื่อส่งเสริม การรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกและความพึงพอใจต่อการบริการ โดยเฉพาะการส่งเสริม สายสัมพันธ์มารดาและทารกโดยเร็วหลังคลอด การให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารกและแนวทางการดูแล และการจัดการความปวดที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มคุณภาพการพยาบาลในระยะคลอดต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการคลอด -- การดูแล -- วิจัยen_US
dc.subjectการคลอด -- การพยาบาลen_US
dc.subjectการพยาบาลสูติศาสตร์en_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดกับผลลัพธ์ด้านการรับรู้ ประสบการณ์การคลอดและความพึงพอใจต่อการบริการของผู้คลอดen_US
dc.title.alternativeRelationship between perceptions of intrapartum care process, childbirth experience perception and satisfaction with nursing care among parturientsen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractIntrapartum care process is crucial because it affects women during labor, both physically and mentally. Smooth and safe delivery increases maternal satisfaction. This descriptive research aimed to study the structure, process and outcomes of care during labor, and the relationship between perceptions of intrapartum care process and outcomes. The purposive sample of 359 postpartum women, who delivered at Pathumthani hospital from December 2015 through August 2016 were recruited. The instruments used for data collection were: 1) demographic information record; 2) “the Perception of Intrapartum Care Process” questionnaire, developed by the researchers; 3) “the Perception of Childbirth Experience” questionnaire, modified version adapted from Manee Junsopa et al. (2012); and 4) “Satisfaction with Nursing Care” scale. The content validity index (CVI) for “the Perception of Intrapartum Care Process” and “the Perception of Childbirth Experience” questionnaires were 1.00. Reliability for the questionnaires, tested by Cronbach's alpha coefficient, were 0.86 and 0.81, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman's correlation. The study revealed that for the structure, the average age of nurses was 38.43 years old, with average years of experience in delivery unit was 15.14 years. Most of them (85.7%) hold a bachelor degree, 78.6% reported in good health. Structure of the parturient revealed average years of age was 25.70 years old, with the majority of them (64.3%) were between 20-34 years old, 61.6% had secondary education graduates, 50.7% were employed, 67.4% had previous childbirth experience, and 57.9% were not receiving childbirth classes before. For the process, the study found on average, parturients' perception of the intrapartum care process were at moderate level ( =56.56, SD=15.42). For the outcomes, parturients perceived their childbirth experience as positive ( =75.35, SD = 10.42) and satisfied with nursing care at moderate level ( =6.86, SD =2.10). The perceptions of intrapartum care process had significant positive correlated with childbirth experience perception and satisfaction with nursing care (p <0.001). The findings from this study suggests that development of intrapartum care process for each phase of labor is needed to ensure positive childbirth experiences and satisfaction with nursing care, especially to promote early bonding after childbirth. Providing information about newborn and caring guidelines, including proper pain management during labor can increase the quality of the childbirth services.en_US
Appears in Collections:Nur-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MANEE NAKANAKUPT.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.