Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ-
dc.date.accessioned2024-04-22T06:08:40Z-
dc.date.available2024-04-22T06:08:40Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/2335-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานวิธี คือ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้แนวคำถาม ประกอบกับการสัมภาษณ์/พูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยภาครัฐ/เอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : One-way ANOVA) การทดสอบค่าที ( t-test) และการการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation analysis: r) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทัศนคติของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ประเภท Facebook โดยรวมมีทัศนคติที่เป็นกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการใช้บริการ Facebook ว่า Facebook เป็นเครือข่ายที่มีการโต้ตอบสื่อสารกันโดยอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเวลาใดมากที่สุด รองลงมาคือ Facebook เป็นสังคมออนไลน์ที่เปิดกว้าง และ Facebook เป็นช่องทางให้ท่านได้แสดงความคิดเห็นได้ในหลากหลายมุม 2. การใช้ประโยชน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ประเภท Facebook โดยรวมมีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ Facebook เพื่อสนทนากับเพื่อน/คนรู้จัก ค้นหาเพื่อนเก่าหรือหาเพื่อนใหม่ มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้ Facebook เพื่อติดตามข่าวสารที่สนใจและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ และใช้ Facebook เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว และกิจกรรมชีวิตประจำวันของเพื่อน/คนรู้จัก 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ประเภท Facebook โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในรูปแบบและสีสัน เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สะอาดตา มากที่สุด รองลงมาคือ มีความพึงพอใจในความคล่องตัว หรือรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และมีความพึงพอใจในการที่ได้สนทนา โต้ตอบ กับเพื่อนหรือผู้ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย 4. ผลการทดสอบสมมติฐานจากงานวิจัยพบว่า 4.1 นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ที่แตกต่างกันจริง 4.2 นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ที่แตกต่างกันจริง 4.3 นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ที่แตกต่างกันจริง 4.4 ทัศนคติและความพึงพอใจเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กันจริง 4.5 พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network) ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กันจริงen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเครือข่ายสังคมแบบออนไลน์ -- วิจัยen_US
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์ -- การสำรวจทัศนคติ -- วิจัยen_US
dc.titleรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยทัศนคติ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network)en_US
dc.title.alternativeAttitude, uses, and gratification of Thai university students toward online social networken_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this research were to study the attitudes of Thai university students living in Bangkok toward online social networking, and to study the user behaviourand the gratification derived from social networking websites. The researcher collected data using both quantitative (questionnaires) and qualitative approaches (in-depth interviews with informal interview questions). The results of this study indicated that the attitudes of university students toward online social networking websites such as Facebook were positive and that they received a high level of gratification. The results also acknowledged and confirmed that differences in the demographic profiles of the students were responsible for differences in attitude, usage behavior, and in gratification levels. The results also acknowledged and confirmed that attitudes and usage behaviors were related to gratification levels.en_US
Appears in Collections:CA-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
DOUNGTIP CHAREONROOK PHUENCHOTE.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.